เราต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า คลังสินค้าคืออะไร กับในยุคที่การค้าและการจัดการสินค้ามีความซับซ้อนมากขึ้น คำว่า คลังสินค้า "Warehouse" และ ที่เก็บของ "Storage" มักถูกใช้สลับกันในบริบทของการจัดเก็บสินค้า แต่แท้จริงแล้ว ทั้งสองคำนี้มีความหมายและบทบาทที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในโลกของโลจิสติกส์และการจัดการห่วงโซ่อุปทาน ซึ่ง คลังสินค้า Warehouse เป็นมากกว่าแค่สถานที่เก็บของ แต่เป็นศูนย์กลางสำคัญในการบริหารจัดการสินค้า การกระจายสินค้า และการสร้างมูลค่าเพิ่มในกระบวนการทางธุรกิจ ในขณะ ที่เก็บของ Storage มักหมายถึงพื้นที่จัดเก็บที่มีขนาดเล็กกว่าและมีวัตถุประสงค์การใช้งานที่แคบกว่า ในวันนี้จะพาคุณไปสำรวจความแตกต่างที่สำคัญระหว่างคลังสินค้าและ Storage ตั้งแต่ขนาดและการออกแบบ ไปจนถึงระบบการจัดการและบทบาทในห่วงโซ่อุปทาน
คลังสินค้าคืออะไร (Warehouse)
คลังสินค้าคืออะไร (Warehouse) คือสถานที่สำหรับวางสินค้า จัดเก็บ พัก กระกระจายสินค้าคงคลัง ซึ่งคลังสินค้ามีชื่อเรียกหลากหลายชื่อ อาทิเช่น ศูนย์กระจายสินค้า ศูนย์จำหน่ายสินค้า หรือ โกดังสินค้า ซึ่งคำว่าคลังสินค้าจึงเป็นความหมายรวมๆ ส่วนการเรียกชี่อแต่ละชื่อนั้นก็ขึ้นอยู่กับทางฟังก์ชั่นของคลังสินค้าแต่ละประเภท ซึ่งคลังสินค้าที่รับสินค้าเข้ามาทำการคัดแยกแล้วกระจายออกไป จะถูกเรียกว่า ศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center) โดยปกติแล้วคลังสินค้าจะทำหน้าที่จัดเก็บสินค้า วัตถุดิบต่างๆ หรือเก็บงานระหว่างการผลิตเป็นหลัก ซึ่งคลังสินค้ามีหลากหลายประเภท ซึ่งจะมีรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันออกไปอีก ซึ่งทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการแบ่งประเภท โดยจำแนกหลัก ๆ ได้ดังต่อไปนี้
- ตามลักษณะธุรกิจ
- ตามลักษณะของงาน
- ตามลักษณะของตัวสินค้า
- ตามจุดมุ่งหมายในการประกอบกิจการ
- ตามลักษณะทางกายภาย
เลือกคลังสินค้าอย่างไรให้เหมาะกับธุรกิจของคุณ
- คลังสินค้าทั่วไป
คลังสินค้าทั่วไปนี้ ใช้สำหรับการจัดเก็บสินค้าเพื่อการอุปโภค สินค้าสำเร็จรูป เครื่องใช้ต่างๆ หรือจะเป็นในส่วนของอะไหล่ชิ้นส่วนต่างๆ ก็สามารถเข้าเก็บรักษาได้ที่คลังสินค้าทั่วไป - คลังสินค้าควบคุมอุณหภูมิ
หรือเรียกอีกชื่อว่าคลังสินค้าห้องเย็นเหมาะสำหรับการจัดเก็บสินค้าที่มีลักษณะเป็นของสด เช่น ผัก ผลไม้ อาหาร เครื่องดื่ม หรืออาหารทะเล
สามารถอ่านต่อได้ที่ คลังสินค้าห้องเย็น มีกี่ประเภท - คลังสินค้าอันตราย
คลังสินค้าประเภทนี้ ใช้สำหรับการจัดเก็บสินค้าหรือวัตถุดิบที่มีส่วนประกอบที่อาจเป็นอันตรายหรืออุตสากรรมที่เกี่ยวกับของกับเคมี สารพิษ เชื้อเพลิง หรือวัตถุไวไฟ วัตถุระเบิด - คลังสินค้าพิเศษ
คลังสินค้าประเภทนี้นั้น ใช้สำหรับการจัดเก็บสินค้าที่มีมูลค่า เช่น เครื่องสำอาง ยาและเวชภัณฑ์ต่างๆ อีกทั้งยังรวมถึงสารเคมีบางชนิดอีกด้วย
ประเภทคลังสินค้าแบ่งตามลักษณะรูปแบบงาน
- คลังสินค้าสำหรับเก็บรักษา
คลังสินค้าประเภทนี้นั้น จะใช้เพื่อสำหรับการจัดเก็บรักษาสินค้าเป็นหลัก เหมาะสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการจัดเก็บสินค้าสำเร็จรูป ชิ้นส่วนต่างๆ หรือ วัตถุดิบที่รอส่งต่อไปยังกระบวนการผลิต ดังนั้นแล้วคลังสินค้าประเภทนี้มีระบบรักษาสภาพสินค้าและป้องกันการสูบหายของสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ - ศูนย์กระจายสินค้า
ศูนย์กระจายสินค้านี้ คือ คลังสินค้าที่ทำหน้าที่ทั้งการจัดเก็บสินค้าและกระจายสินค้าระหว่างผู้ผลิตไปยังผู้ขายปลีก โดยอาจจะรวมถึงผู้ประกอบการทางด้านโลจิสติกส์ที่รับสินค้าจากผู้ผลิตแต่ละรายมาเก็บไว้ในคลังสินค้าของตน เพื่อจัดการด้านการขนส่งสินค้าไปยังลูกค้าแทนผู้ผลิต - ศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า
ศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้านี้ คือ คลังสินค้าที่ใช้ในการรับสินค้า เปลี่ยนถ่ายสินค้า และ ส่งสินค้าในเวลาเดียวกัน ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องมีการรับสินค้าจากผู้ผลิตหลายๆที่ เพื่อนำมาคัดแยกและจัดส่งสินค้าให้กับทางลูกค้าอีกต่อไป
ความสำคัญของคลังสินค้า
1. การจัดการสินค้าคงคลัง : ช่วยควบคุมปริมาณสินค้าให้เพียงพอต่อความต้องการ
2. การลดต้นทุน : ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่งและการผลิต
3. การรักษาคุณภาพสินค้า : ป้องกันความเสียหายและเสื่อมสภาพของสินค้า
4. การกระจายสินค้า : ช่วยให้สินค้าถึงมือลูกค้าได้รวดเร็วขึ้น
5. การวางแผนธุรกิจ : ให้ข้อมูลสำหรับการวางแผนการผลิตและการตลาด
6. การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน : ช่วยให้ธุรกิจตอบสนองความต้องการลูกค้าได้ดีขึ้น
ประเภทคลังสินค้าแบ่งตามลักษณะที่ตั้ง
1. คลังสินค้าในเมือง (Urban Warehouse)
ตั้งอยู่ใกล้แหล่งชุมชนหรือย่านธุรกิจ ที่เน้นการกระจายสินค้าให้ผู้บริโภคโดยตรงและมีข้อจำกัดด้านพื้นที่และการขยายตัว
2. คลังสินค้าชานเมือง (Suburban Warehouse)
ตั้งอยู่บริเวณรอบนอกเมือง มีพื้นที่กว้างขวางสามารถรองรับสินค้าจำนวนมากได้ โดยมีค่าที่ดินและค่าดำเนินการต่ำกว่าในเมือง
3. คลังสินค้าในพื้นที่อุตสาหกรรม (Industrial Park Warehouse)
ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรมใกล้แหล่งผลิตและระบบขนส่ง มีสิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐานพร้อม
4. คลังสินค้าท่าเรือ (Port Warehouse)
ตั้งอยู่บริเวณท่าเรือรองรับสินค้านำเข้าและส่งออก โดยมีอุปกรณ์ขนถ่ายสินค้าเฉพาะทาง
5. คลังสินค้าสนามบิน (Airport Warehouse)
ตั้งอยู่ใกล้หรือในบริเวณสนามบิน เหมาะสำหรับสินค้าที่ต้องขนส่งทางอากาศ และมีระบบรักษาความปลอดภัยสูง
Storage (ที่เก็บของ) คืออะไร
Warehouse กับ Store ต่างกันอย่างไร
โคโนอิเกะ คูล โลจิสติกส์ ผู้ให้บริการ ขนส่งควบคุมอุณหภูมิ ที่สามารถจัดการสินค้าได้หลากหลายตั้งแต่อาหารสดไปจนถึงส่วนประกอบที่มีความแม่นยำ และแม้กระทั่งการขนส่งพืชสำหรับการก่อสร้างโรงงานในต่างประเทศ เราสนับสนุนธุรกิจระดับโลกของลูกค้าของเราด้วยการนำเสนอการขนส่งข้ามพรมแดนรวมถึง Express Series ที่ช่วยลดเวลาการขนส่งทางทะเลไปยังญี่ปุ่น อีกทั้งยังให้บริการ คลังสินค้าและขนส่งควบคุมอุณหภูมิ ผ่านการรับรองมาตรฐาน ISO9001:2015, GHPs, Food Defense, GSDP ได้รับความไว้วางใจจากบริษัทชั้นนำในประเทศไทยมาอย่างยาวนาน หากคุณมีข้อสงสัย
ติดต่อ บริษัท โคโนอิเกะ คูล โลจิสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ทาง
โทรศัพท์ 02-337-3013
Sales Department : 063-269-0135 คุณสมคิด
Sales Department : 061-393-7998 คุณมินนี่
Line id : @495apobz
Website Profile : บริษัท โคโนอิเกะ คูล โลจิสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด
ข้อมูลจาก
capitolnorthamerican.com/
golocad.com/
simplfulfillment.com