ประวัติบริษัท
บริษัท ไอร่า แฟคตอริ่ง จำกัด (มหาชน) (“บริษัท”) จดทะเบียนก่อตั้งเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2540 เดิมใช้ชื่อว่า บริษัท ธนมิตร แฟคตอริ่ง จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียนจำนวน 20 ล้านบาท โดยการร่วมทุนระหว่าง บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 50 กลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นร้อยละ 38 และกลุ่มผู้ถือหุ้นอื่นถือหุ้นร้อยละ 12 โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง เพื่อดำเนินธุรกิจแฟคตอริ่ง และเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2547 บริษัทได้จดทะเบียนแปรสภาพจากบริษัทจำกัด
เป็นบริษัทมหาชนจำกัด บริษัทได้จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ในเดือนสิงหาคม 2547 พร้อมกับเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนต่อประชาชนจำนวน 4 ล้านหุ้น ทำให้บริษัทมีทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้วจำนวน 100 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 20 ล้านหุ้น
ต่อมาเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2554 กลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มจิราธิวัฒน์ และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ได้จำหน่ายหุ้นสามัญของกิจการให้กับ บริษัท ไอร่า แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) จำนวน 11,470,200 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 57.35 ของจำนวนหุ้นสามัญที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท และต่อมาเดือนกันยายน 2554 บริษัทได้เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 100 ล้านบาท เป็น 200 ล้านบาท และได้เปลี่ยนชื่อบริษัท
จาก “บริษัท ธนมิตร แฟคตอริ่ง จำกัด (มหาชน)” เป็น “บริษัท ไอร่า แฟคตอริ่ง จำกัด (มหาชน)” ต่อมาเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2558 บริษัทได้ดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นสามัญจากเดิมหุ้นละ 5 บาท เป็นหุ้นละ 0.25 บาท และเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2558 บริษัทได้เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 200 ล้านบาท เป็น 400 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 1,600 ล้านหุ้น
ธุรกิจหลักของบริษัท
บริษัท ไอร่า แฟคตอริ่ง จำกัด (มหาชน) (“บริษัท”) ประกอบธุรกิจแฟคตอริ่งหรือการโอนและรับโอนสิทธิเรียกร้องภายในประเทศ (Domestic Factoring) บริษัทเป็นผู้ให้บริการเงินทุนหมุนเวียนระยะสั้นโดยการรับซื้อลดลูกหนี้การค้าโดยการรับโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงิน
กลุ่มลูกค้าหลักของบริษัท เป็นกลุ่มลูกค้าในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่ต้องการเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ โดยส่วนใหญ่เป็นธุรกิจที่อยู่ในช่วงเจริญเติบโต หรือช่วงการขยายตัวของกิจการ ช่วยให้ธุรกิจมีสภาพคล่อง มีความแข็งแรงในการดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องเพิ่มมากขึ้นอีก (ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า “ลูกค้า”) ทั้งนี้บริษัทมีระบบการบริหารจัดการสินเชื่ออย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสามารถลดความเสี่ยงที่เกิดอาจเกิดขึ้นได้ เช่น การพิจารณาสัดส่วนลูกค้าในแต่ละภาคธุรกิจ
เพื่อการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม ลูกค้าของบริษัทเป็นกิจการที่อยู่ในภาคธุรกิจที่มีการขยายตัวดี มีศักยภาพสูง โดยเฉพาะปัจจุบัน บริษัทพิจารณาลูกค้าเป้าหมายไปยังภาคธุรกิจ และธุรกิจเกี่ยวข้องกับสุขภาพความงามเป็นต้น
เนื่องจากเป็นภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่สำคัญของประเทศ มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นอุตสาหกรรมที่มีภาวะธุรกิจอยู่ในเกณฑ์ดี เป็นภาคธุรกิจที่มีผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมจำนวนมาก ประกอบกับลักษณะธุรกรรมชัดเจน ทำให้สามารถบริหารความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งคาดว่าจะเป็นโอกาสในการเพิ่มปริมาณธุรกรรมของบริษัทได้เป็นอย่างดี
โดยปกติลูกค้าจะให้เครดิตในการชำระเงินแก่ลูกหนี้ เมื่อลูกค้าต้องการเงินสดก่อนถึงงวดการชำระเงินของลูกหนี้ เพื่อนำไปใช้เป็นทุนหมุนเวียนหรือซื้อวัตถุดิบเพิ่ม ลูกค้าสามารถนำเอกสารการค้า ได้แก่ ใบส่งสินค้า ใบสั่งซื้อสินค้า ใบวางบิล มาขายลดพร้อมกับโอนสิทธิการรับเงินให้แก่บริษัท
โดยบริษัทจะจ่ายเงินสดให้แก่ลูกค้าล่วงหน้าก่อนประมาณร้อยละ 80 ของยอดเงินตามเอกสารการค้า และเมื่อถึงกำหนดชำระเงินซึ่งปกติจะมีระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน บริษัทจะเป็นผู้ดำเนินการในการเรียกเก็บค่าสินค้าหรือบริการจากลูกหนี้ตามจำนวนเงินที่ปรากฏในเอกสารการค้า และดำเนินการคืนเงินในจำนวนเท่ากับส่วนต่างของยอดรับซื้อกับยอดเงินที่ได้รับจากการเรียกเก็บค่าสินค้าหรือบริการ
ขั้นตอนการดำเนินการ