กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย – ฐานการผลิตที่ใหญ่ที่สุดของดาวในเอเชียแปซิฟิก
Dow (ดาว) เป็นบริษัทชั้นนำระดับโลกซึ่งพัฒนาและผลิตวัสดุชนิดต่าง ๆ ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีเป้าหมายที่จะสร้างการเติบโตทางธุรกิจและอนาคตที่ยั่งยืนให้กับโลกด้วยความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม รวมทั้งการดำเนินงานที่เป็นเลิศด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล Dow มีความมุ่งมั่นที่จะเป็นบริษัทด้านวัสดุศาสตร์ (Materials science) ชั้นนำของโลกในด้านนวัตกรรมและความยั่งยืน ด้วยการทำงานที่มีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง และให้การยอมรับบุคคลากรที่มีความหลากหลาย กลุ่มผลิตภัณฑ์และโซลูชันทางวิทยาศาสตร์ของ Dow ได้แก่ พลาสติกชนิดต่างๆ เคมีภัณฑ์เพื่ออุตสาหกรรม สารเคลือบผิว และซิลิโคน เน้นสร้างความแตกต่างเพื่อตอบโจทย์การใช้งานในอุตสาหกรรมสำคัญที่มีการเติบโตสูง เช่น อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ ยานยนต์ การก่อสร้างอาคารและโครงสร้างพื้นฐาน การผลิตเครื่องอุปโภคบริโภค เป็นต้น
ปัจจุบัน Dow มีฐานการผลิตใน 31 ประเทศ และมีพนักงานประมาณ 37,800 คน โดยมียอดขายในปี พ.ศ. 2565 ประมาณ 57,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (หรือประมาณ 2 ล้านล้านบาท)
Dow เริ่มดำเนินธุรกิจในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 และได้ร่วมกับบริษัท เอสซีจี ก่อตั้งกลุ่มบริษัทร่วมทุนเอสซีจี-ดาว ในปี พ.ศ. 2530 (ในปี 2565 เอสซีจี เคมิคอลส์ ได้รีแบรนด์เป็น เอสซีจีซี) โดยในปัจจุบัน กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย ประกอบด้วยบริษัทซึ่ง Dow เป็นเจ้าของเพียงผู้เดียว และกลุ่มบริษัทร่วมทุนเอสซีจีซี-ดาว นอกจากนี้ ยังมีบริษัทร่วมทุนระหว่าง Dow และ โซลเวย์ในประเทศไทย
กลุ่มผลิตภัณฑ์หลักของ Dow
1. วัสดุประสิทธิภาพสูง และสารเคลือบผิว (Performance Materials & Coating)
2. เคมีภัณฑ์เพื่ออุตสาหกรรม และโครงสร้างพื้นฐาน (Industrial Intermediates & Infrastructures)
3. พลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์ และพลาสติกชนิดพิเศษ (Packaging & Specialty Plastics)
ตลาดที่สำคัญในประเทศไทย
ฐานการผลิตในประเทศไทย
ปัจจุบันกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย ประกอบด้วย 13 โรงงาน ซึ่งเป็นฐานการผลิตที่ใหญ่ที่สุดของดาวในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกโดยมีโรงงานตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมเอเซีย และนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ตะวันออก (มาบตาพุด) จังหวัดระยอง
สินค้าที่ผลิตในประเทศไทย
กลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกชนิดโพลิเอทิลีน โพลิสไตรีน อีลาสโตเมอร์ กลุ่มผลิตภัณฑ์โพลิยูรีเทน สไตรีนบิวทาไดอีนเลเทกซ์ โพรพิลีนออกไซด์ และโพรพิลีนไกลคอล โดยมีสินค้านำเข้าจาก Dow ประเทศอื่น ๆ ที่นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยด้วย เช่น ตัวทำละลาย เคมีภัณฑ์เพื่อการก่อสร้าง ซิลิโคน และพลาสติกชนิดพิเศษ
เป้าการทำงานด้านความยั่งยืน
• ต้านโลกร้อน ภายในปี 2573 จะลดการปล่อยคาร์บอนลง 15% โดยภายในปี 2593 Dow จะเป็นกลางทางคาร์บอน
• เปลี่ยนขยะเป็นผลิตภัณฑ์ ภายในปี 2573 จะเปลี่ยนขยะพลาสติกและนำวัตถุดิบทางเลือกรูปแบบอื่นๆ มาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ได้ ให้ได้ 3 ล้านตันต่อปี
• ส่งเสริมวงจรรีไซเคิล ภายในปี 2578 ผลิตภัณฑ์เพื่อแพคเกจจิ้งทั้งหมดของ Dow ต้องนำกลับมาใช้ใหม่/รีไซเคิลได้
การส่งเสริมความยั่งยืนและเศรษฐกิจหมุนเวียน
• โครงการความร่วมมือภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคมเพื่อจัดการพลาสติกและขยะอย่างยั่งยืน (PPP Plastics) ซึ่ง Dow เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งเพื่อดำเนินงานตามแผน Roadmap 20 ปีการจัดการขยะพลาสติกและส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยได้ริเริ่มโครงการมากมาย เช่น โครงการต้นแบบจังหวัดระยองซึ่งร่วมกับ อบจ. และองค์กรส่วนท้องถิ่นในจังหวัด โครงการมือวิเศษ x วน โดย PPP Plastics เป็นต้น ซึ่งช่วยลดขยะได้แล้วกว่า 1,400 ตัน
• โครงการถนนพลาสติกรีไซเคิล โดยความร่วมมือระหว่าง Dow และ SCG ในการนำพลาสติกใช้แล้วมาผสมกับยางมะตอยเพื่อเพิ่มความคงทนของถนน และช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกในสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาร่วมกับภาครัฐเพื่อเป็นมาตรฐานทางเลือกในการสร้างถนน โครงการนี้ช่วยลดขยะได้แล้วกว่า 23 ตันในประเทศไทย
• โครงการ ดาว เพื่ออุตสาหกรรมยั่งยืน ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี เพื่อยกระดับ SME ไทย ให้ก้าวสู่มาตรฐานอุตสาหกรรม 4.0 และมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัยของพนักงานและชุมชนรอบพื้นที่ รวมถึงลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิต โดยช่วยลดการปลดปล่อยคาร์บอนได้แล้วกว่า 5,500 ตันคาร์บอน
• โครงการเก็บขยะชายหาดในวันอนุรักษ์ชายฝั่งสากล ดำเนินการต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ในจังหวัดระยอง โดยรณรงค์ให้ประชาชนร่วมกันเก็บและคัดแยกขยะ รวมทั้งมีการให้ความรู้ด้านการจัดการขยะผ่านกิจกรรม นิทรรศการ และเกม อีกทั้งยังนำขยะที่เก็บได้ไปรีไซเคิลและใช้ประโยชน์ โดยเก็บขยะได้กว่า 130 ตัน
• โครงการดาวและเครือข่ายรักษ์ป่าชายเลน ต่อยอดจากโครงการปลูกป่าชายเลน ณ ปากน้ำประแส จังหวัดระยอง ซึ่ง Dow ดำเนินการต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 ตั้งเป้าต้านโลกร้อนและลดขยะในพื้นที่ป่าชายเลนกว่า 5,000 ไร่อย่างครบวงจร โดยไม่เพียงแค่ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนและส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ แต่ยังสร้างประโยชน์ทางสังคมและเศรษฐกิจให้ชุมชนที่ร่วมดูแลป่า เช่น รายได้จากระบบการซื้อขายคาร์บอนเครดิต และการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว
• โครงการ ดาว-อีเอฟ พัฒนาเยาวชนสู่ความสำเร็จเพื่อระยองผาสุก มุ่งส่งเสริมการพัฒนาสมองส่วนหน้า Executive Functions (EF) เพื่อสร้างเยาวชนเป็นคนดีและคนเก่ง โดยผนึกกำลังกับหน่วยงานภาครัฐและประชาสังคม ปัจจุบันมีอาสาสมัครชุมชนกว่า 1,300 คน และมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สถานรับเลี้ยงเด็ก และโรงเรียนอนุบาลกว่า 200 แห่งเข้าร่วมโครงการ
• โครงการห้องเรียนเคมีดาว ส่งเสริมการเรียนวิทยาศาสตร์โดยการทดลองเคมีแบบย่อส่วนที่มีความปลอดภัยสูงใช้ปริมาณสารเคมีน้อย ช่วยลดค่าใช้จ่ายและของเสีย นักเรียนสามารถลงมือทำการทดลองด้วยตนเอง ดำเนินการต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 มีครูโรงเรียนเข้าร่วมกว่า 2,000 คน และในปี 2565 ได้ประกาศร่วมมือกับสพฐ. เพื่อขยายไปยังโรงเรียนทั่วประเทศ
• โครงการ FIRST Lego League และ FIRST Tech Challenge ส่งเสริมการศึกษาด้านสะเต็ม เปิดโอกาสให้เยาวชนไทยได้แสดงความสามารถด้านการพัฒนาหุ่นยนต์และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันในระดับนานาชาติ
สื่อมวลชนต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร
• คุณอภิรดี ภู่ภิรมย์ 098-8316933 [email protected]
• คุณสุทธิพงศ์ โกรทินธาคม 081-7919626 [email protected]
• คุณลลิดา ทิศาดลดิลก 089-668 7079 [email protected]