ค้นหา
ความแตกต่างระหว่างการบริการขนส่งแบบ FCL และ LCL

ความแตกต่างระหว่างการบริการขนส่งแบบ FCL และ LCL

ผู้เขียนบทความ : At Once
By : At Once

ในบทความนี้จะแสดงถึงความแตกต่างระหว่าง FCL และ LCL แต่ทางเราจะเจาะจงรายละเอียดสำหรับการขนส่งสินค้าแบบ LCL นั้นเป็นหลัก

LCL คือ การที่ส่งสินค้าแบบแชร์ตู้ร่วมกับสินค้าเจ้าของ ซึ่งจะแตกต่างจาก FCL คือเป็นการโหลดสินค้าแบบเต็มตู้คอนเทนเนอร์เลย ซึ่งการส่งแบบ LCL นั้น ถ้าจะระบุให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ จะมีเจ้าของสินค้าหลากหลายรายรวมกันเข้ามาในตู้คอนเทนเนอร์ ดังนั้นการคำนวณค่าใช้จ่ายในการขนส่งระหว่าง FCL และ LCL เลยเกิดความแตกต่างขึ้น


ความหมายของการส่งสินค้าแบบ LCL

LCL นั้น ย่อมาจาก Less Than Container Loading คือการขนส่งแบบไม่เต็มตู้คอนเทนเนอร์นั้นเอง การขนส่งแบบแชร์พื้นที่ในตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งจะมีเจ้าของสินค้าหลายรายรวมกันมาในตู้คอนเทนเนอร์ - เหมาะกับผู้ที่ต้องการส่งสินค้าในปริมาณน้อย เพียงพอสำหรับการส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์

ในการเลือกขนส่งสินค้าแบบ LCL นั้น ในการเลือกการส่งสินค้าในแต่ละครั้ง เราจะต้องคำนวณว่า จะเลือกส่งสินค้าแบบเต็มตู้หรือเลือกส่งแบบไม่เต็มตู้ ถ้าหากในปริมาณสินค้าประมาณ 1 คิวบิกเมตรนั้น ทางเราจะขอแนะนำให้เลือกการส่งสินค้าแบบ LCL ซึ่งในการพิจารณาการเลือกใช้การขนส่งนั้น เราควรพิจารณาให้ครบทุกด้าน หลาย ๆ องค์ประกอบ เพื่อก่อให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด


ปัญหาหลัก ๆ ที่พบได้ในการขนส่งแบบ LCL

ปัญหาที่สามารถพบได้ ในกรณีการส่งสินค้าแบบ LCL นั้น ในฝั่งส่งออกสินค้า ค่าใช้จ่ายสำหรับ LCL จะมีราคาที่ถูกกว่าแบบ FCL ซึ่งถ้าหากที่ผู้ส่งสินค้านั้น เลือกใช้การขนส่งสินค้าแบบ LCL กับสินค้าที่มีขนาดใหญ่ ก็จะมีค่าใช้จ่าย THC และ CFS ในฝั่งนำเข้าสินค้าได้

ถ้าหากเลือกใช้เงื่อนไขการขนส่งสินค้าเทอม CFR หรือ CIF ฝั่งผู้ส่งออกนั้นจะไม่เสียค่าใช้จ่ายในฝั่งนำเข้าสินค้า แต่ถ้าหากกรณีสินค้านั้นมีขนาดใหญ่แต่เลือกส่งแบบ LCL มักจะมีปัญหา และค่าใช้จ่ายเพิ่มเกิดขึ้นในฝั่งนำเข้าสินค้า

หากคุณคือผู้ส่งออกสินค้า ที่ต้องการที่จะขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ และใช้บริการแบบ LCL จำเป็นจะต้องพิจารณาเรื่องค่าใช้จ่ายปลายทางด้วย


ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้ว หากคุณต้องการขนส่งทางเรือด้วยตู้คอนเทนเนอร์ คุณจำเป็นจะต้องพิจารณาในการเลือกการขนส่งแบบ FCL หรือ LCL ควรจะพิจารณาในหลาย ๆ องค์ประกอบ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่า และตอบโจทย์ของผู้ใช้บริการให้ได้มากที่สุดในการ นำเข้า-ส่งออก


ที่มา: forwarder-university

แชร์บทความ หรือข่าวสาร

Facebook
Line
Mail