ค้นหา
E20/E85/แก๊สโซฮอล์ 91 /น้ำมันดีเซล ต่างกันอย่างไรบ้าง

E20/E85/แก๊สโซฮอล์ 91 /น้ำมันดีเซล ต่างกันอย่างไรบ้าง

เราเองเคยสงสัยกันไหมว่า น้ำมันแต่ละชนิดนั้นที่ใช้ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น แก๊ซโซฮอล์ 91 , น้ำมันดีเซล , น้ำมัน E20 และ E85 มีความแตกต่างกันออกไปอย่างไร ในวันนี้เราจะมาอธิบายให้ละเอียดและเข้าใจง่ายที่สุดแก่คนที่ใช้รถเช่า หรือ มีรถส่วนตัวให้ทราบกันครับ

1.น้ำมัน E20 – E85 แตกต่างกันแค่ส่วนผสม

เรามาแยกตรงคู่ของ E20 กับ E85 ก่อนเป็นคู่แรก เพราะในยุคนี้ จะมีรถที่ใช้น้ำมันประเภทนี้มากขึ้นเรื่อยๆ โดยตัว E ที่เห็น ก็คือ "สารเอทานอลแอลกฮอล์" ซึ่งเป็นสารที่กลั่นมาจากผลผลิตทางชีวภาพ หรือ ผลผลิตการเกษตร จำพวก ข้าวโพด อ้อย และ มันสำปะหลัง เป็นต้น ส่วนตัวเลข 20 กับ 85 นั้น ก็คือ จำนวนอัตราส่วนผสมของเอทานอลแอลกฮอล์ที่ต่างกัน เช่น E20 จะมีส่วนผสมของเอทานอลแอลกฮอล์ในน้ำมัน เพียง 20% ส่วน E85 จะมีส่วนผสมของเอทานอลแอลกฮอล์ในน้ำมัน อยู่ที่ 85% ซึ่งรถที่ใช้ E85 ได้ จะต้องเป็นรถในรูปแบบ FFV หรือ Flex Fuel Vehicle คือ เครื่องยนต์ที่ได้รับการออกแบบมา เพื่อรองรับน้ำมันเบนซินที่มีส่วนผสมของ เอทานอล โดยเฉพาะ

น้ำมัน E20กับE85

2.รถยนต์ที่ใช้ E85 ได้ มีดังต่อไปนี้

  • MG ทุกรุ่น
  • Volvo รุ่น S80 เครื่องยนต์ 2.5FT+, C30 เครื่องยนต์ 1.8FT+, S60 และ V60 (เครื่องยนต์ 1.6)
  • Chevrolet รุ่น Captiva เครื่องยนต์ 2.4, Cruze เครื่องยนต์ 1.8 และ Sonic เครื่องยนต์ 1.6

ด้านรถญี่ปุ่นที่ใช้ E85 ได้ ประกอบไปด้วย Toyota รุ่น Corolla Altis เครื่องยนต์ 1.8 กับ Honda รุ่น New CR-V ใช้ได้ทั้งเครื่องยนต์ 2.0 กับ 2.4, New Civic ใช้ได้ทั้ง เครื่อง 1.8 กับ 2.0 และ New Accord ที่ใช้ได้ทั้งเครื่องยนต์ 2.0 กับ 2.4

3.E20 – แก๊ซโซฮอล์ 91 แบบไหนดีกว่ากัน และ แตกต่างกันอย่างไร

สำหรับรถของ ECOCAR ของเรานั้น สามารถเติมน้ำมันได้ทั้ง E20 กับ แก๊สโซฮอล์ 91 แต่ถ้าหากให้เลือก เราแนะนำให้เป็น E20 ดีกว่า เพราะว่า ราคาน้ำมันที่ถูกกว่า เหมาะสำหรับคนที่มีรายได้ค่อนข้างจำกัดจำเขี่ย แต่ไม่ถึงน้อย หาเติมได้ทั่วประเทศแล้ว ณ เวลานี้ ส่วนแก๊สโซฮอล์ 91 เป็นน้ำมันที่มีศักยภาพเทียบเท่า E20 แต่มีราคาสูงมาก ซึ่งจะยกเลิกใช้ในปี 2561 ที่จะถึงนี้

4.E20 / E85 - น้ำมันดีเซล แตกต่างกันอย่างไร

ส่วนตรงนี้ ก็บอกได้ชัดเจนอยู่ ซึ่ง E20 กับ E85 จะใช้ได้กับเครื่องยนต์เบนซิน ถ้าหากเป็นน้ำมันดีเซล จะต้องใช้กับรถที่มีเครื่องยนต์ดีเซล โดยเฉพาะ อาทิ รถกระบะ, รถตู้ และ รถบรรทุก รวมไปถึง เรือโดยสารต่างๆ ซึ่งจะต่างกันที่ความหนืดของน้ำมันดีเซล จะมีความหนืดกว่าน้ำมันตระกูลเอทานอลแอลกฮอล์

ที่มา: www.thairentecocar.com

แชร์บทความ หรือข่าวสาร

Facebook
Line
Mail