ในวันนี้ เราจะมาอธิบายเกี่ยวกับการทำงานของ HDD และ SSD ว่ามีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง และ แต่ละประเภทนั้น แตกต่างกันอย่างไรและข้อเสียมีอะไรบ้างครับ
Harddisk
HDD นั้น นับว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพราะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลต่างๆของคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบปฏิบัติการ หรือ ไฟล์วิดีโอ ไฟล์รูปหรือ ไฟล์ต่างๆ โดยเป็นการเขียนข้อมูลลงบนจานแม่เหล็กเพื่อเป็นการเก็บข้อมูล โดยการเก็บข้อมูลบน HDD สามารถที่จะลบออกและเขียนทับใหม่ได้ตลอดไม่ได้จำกัดจำนวนสามารถใช้งานได้อย่างยาวนาน แต่ควรระวังเครื่องไฟตกบ่อยๆ อาจจะทำให้เกิดการเสียหายต่อตัว HDD ได้ ซึ่ง HDD นั้นถูกแบ่งออกได้ 4 ชนิดคือ
- แบบ IDE เป็นการเชื่อมต่อแบบเก่า โดยใช้สายแพขนาด 40 เส้น ใช้ในการเชื่อมต่อ
- แบบ E-IDE เป็นการเชื่อมต่อที่มีการถ่ายโอนข้อมูลที่สูงกว่าแบบ IDE และ เชื่อมต่อด้วยสายแพขนาด 80 เส้น
- แบบ SCSI เป็นฮาร์ดดิส ที่มีการควบคุมการทำงานที่แตกต่างจากรูปแบบอื่นๆ โดยต้องใช้การ์ด SCSI ในการควบคุมการทำงานโดยเฉพาะ
- แบบ SATA ถือว่าเป็นแบบที่ฮอตฮิตมากที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีความเร็วในการเชื่อมต่อที่สูง และ ยังรองรับอุปกรณ์อื่นๆได้
- มีความร้อนที่สูง จากการหมุนของจานแม่เหล็ก
- มีเสียงของการทำงาน แต่ถือว่าเล็กน้อย ถ้าไม่ได้ตั้งใจฟังก็อาจจะไม่ได้ยิน
- ต้องใช้ไฟเลี้ยงจำนวนมากพอสมควรสำหรับในการทำงาน
- ห้ามตก หรือ ทำหล่น เด็ดขาด เพราะอาจจะเกิดความเสียหายขึ้นได้
- มีน้ำหนักที่มากพอสมควร
SSD คืออะไร
SSD หรือ Solid State Drive ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่ใช้จัดเก็บข้อมูลชนิดหนึ่ง ที่เปลี่ยนจากจานแม่เหล็กมาเป็นรูปแบบ Flash Memory มีความคล้ายคลึงกับการเก็บข้อมูลของ Flash Drive ซึ่งเทคโนโลยีของตัว SSD นั้นถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดแทนฮาร์ดดิสก์ จึงทำให้มีอินเทอร์เฟสอินพุตและเอ้าพุต สามารถใช้งานแทนกันได้เลย เนื่องจาก SSD นั้นออกแบบมาโดยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ จึงไม่มีชิ้นส่วนเคลื่อนไหว ส่งผลให้ทนต่อแรงกระแทกได้ดี ซึ่งประเภทของ SSD มีอย่างหลากหลายดังต่อไปนี้
1.แบบ SATA III
แบบ SATA III นับว่าเป็นมาตรฐานของ SSD โดยออกแบบมาให้เชื่อมต่อกันเหมือน HDD ทั่วไป มีขนาด 2.5 นิ้ว สามารถใช้งานกับคอมพิวเตอร์และโน๊ตบุ๊คทั่วไปได้อย่างสบาย
2.แบบ mSATA
แบบ mSATA เป็น SSD ที่มีความเร็วเหมือนกับ SATA III แต่มีขนาดที่เล็กลงเพื่อสามารถนำไปใช้งานกับ โน๊คบุ๊คแบบบางหรือ Tablet PC ให้มีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีมากกว่าเดิม
3.แบบ M.2
เป็น SSD อีกรูปแบบหนึ่ง ที่ได้ออกแบบมาใหม่และเชื่อมต่อรูปแบบใหม่ โดยความพิเศษของ M.2 นั้นก็คือมีประสิทธิภาพที่สูงกว่าแบบ SATA อยู่หลายเท่าตัว
4.แบบ PCle
แบบ PCle นั้น ออกแบบมาเพื่อเสียบลงบน Slot PCI Express x16 เพื่อประสิทธิภาพและการใช้งานที่ดียิ่งขึ้น
5.แบบ M.2 NVMe
เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดสำหรับ SSD ในยุคปัจจุบัน แต่ก็มีคอมพิวเตอร์หรือโน๊ตบุ๊คในรุ่นใหม่ๆเท่านั้นที่สามารถรองรับการทำงานแบบ NVMe ได้
- มีความจุที่น้อยและมีราคาสูงเมื่อถูกเปรียบเทียบกับทาง HDD
- มีขีดจำกัดในการเขียนซ้ำข้อมูล
- หากความเสียหายเกิดขึ้นไม่สามารถที่จะกู้ข้อมูลกลับมาได้
HDD กับ SSD ทั้ง 2 ถือว่ามีหน้าที่เดียวกันคือ เป็นตัวบันทึกข้อมูลสำหรับคอมพิวเตอร์ แต่มีข้อแตกต่างกันที่ว่า SSD มีความเร็วในการอ่าน ในการเขียนมากกว่า HDD หลายเท่าตัว แต่มีอายุการใช้งานสั้นกว่า HDD ซึ่งโดยปกติแล้ว จะนำทั้ง 2 นี้มาใช้งานร่วมกัน โดยนำ SSD เป็นตัวเก็บข้อมูลไฟล์ Window และ โปรแกรมต่างๆ และ HDD นั้นจะนำมาใช้เก็บไฟล์ข้อมูลที่ไม่ค่อยได้นำมาใช้งาน ทางเราหวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์แก่ผู้ที่ยังสงสัยว่า HDD และ SSD นั้นคืออะไร และ มีข้อแตกต่างกันอย่างไรครับ
Website เราเป็นผู้ให้บริการรวบรวมรายชื่อบริษัทที่ให้บริการในส่วนต่างๆอย่างครอบคลุม หนึ่งในนั้นก็คือ การให้บริการด้านไอที ไม่ว่าจะเป็น การติดตั้งระบบต่างๆ ติดตั้งอุปกรณ์ ติดตั้งซอฟแวร์ สำรองข้อมูล หรือ จำหน่ายฮาร์ดแวร์ หรืออุปกรณ์ไอทีต่างๆ ซึ่งคุณสามารถเข้ามาติดต่อสอบถามข้อมูลการให้บริการกับบริษัทที่คุณสนใจได้โดยตรงได้ใน At-once ซึ่งเรารับหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างบริษัทกับผู้ที่สนใจใช้บริการครับ สามารถติดต่อสอบถามหรือติดตามกิจกรรมต่างๆของเราได้ที่ Facebook ครับ
แนะนำบริษัทที่ให้บริการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
ที่มา: www.addin.co.th