ค้นหา
ใบอนุญาตทำงาน ( Work Permit ) คืออะไร

ใบอนุญาตทำงาน ( Work Permit ) คืออะไร

ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบการจ้างงานคนต่างด้าวที่กำหนดไว้ในประเทศไทย เมื่อคนต่างด้าว มีความประสงค์จะทำงานในประเทศไทย คนต่างด้าวจะต้องได้รับใบอนุญาตพำนักในประเทศไทยและใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ในประเทศไทย ท่านไม่สามารถทำงานในประเทศไทยได้หากมีเพียงใบอนุญาตพำนัก (วีซ่า) เท่านั้น ท่านต้องขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) เสมอ หลังจากเดินทางเข้ามาในประเทศไทย ต้องยื่นขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) เป็นลำดับแรก

ขอใบอนุญาตทำงาน

ขอบคุณภาพจาก : www.thaiembassy.com

การยื่นขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) สามารถดำเนินการได้ ณ กระทรวงแรงงานซึ่งมีเขตอำนาจตามสถานที่ตั้งบริษัทที่ทำงานอยู่ หรือศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงานแบบ ONE STOP SERVICE

การขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) มิใช่เรื่องง่ายที่ใคร ๆ ก็สามารถทำงานถึงแม้ว่าจะมีบริษัทตั้งอยู่ในประเทศไทย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะออกใบอนุญาตทำงานให้โดยพิจารณาอย่างครอบคลุมจากประวัติการทำงาน ทักษะ ความสามารถ และประสบการณ์ของ “บริษัท” และ “รายบุคคล” ของ

คนต่างด้าวที่ประสงค์จะทำงานในประเทศไทย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากสำหรับการยื่นและขอใบอนุญาต-ทำงานให้กับผู้สำเร็จการศึกษาใหม่หรือผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ในการทำงาน บริษัทที่ส่งคนต่างด้าวมาประจำที่ประเทศไทยหรือบริษัทที่จ้างคนต่างด้าวใหม่ต้องระมัดระวังในข้อนี้ นอกจากนี้ยังมีบางสาขาอาชีพที่รัฐบาลไทยห้ามมิให้รับแรงงานต่างด้าวเข้าทำงานโดยเด็ดขาด

ระยะเวลาการอนุญาตของใบอนุญาตทำงาน (Work Permit)

กรมแรงงานจะเป็นผู้กำหนดระยะเวลาการอนุญาตสำหรับใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) โดยพิจารณาจากรายละเอียดในการยื่นขอ ตามปกติจะออกให้เป็นระยะเวลา 1 ปี ทั้งนี้อาจออกให้เป็นระยะเวลา 3 เดือน 6 เดือน 1 ปี หรือ 2 ปีขึ้นอยู่กับรายละเอียด (สำหรับบริษัทที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขพิเศษ) อายุของใบอนุญาต-ทำงาน (Work Permit) ที่ออกให้และระยะเวลาของใบอนุญาตพำนัก (วีซ่า) นั้นไม่มีความเกี่ยวข้องกัน ท่านสามารถต่ออายุระยะเวลาการอนุญาตได้

การต่ออายุใบอนุญาตทำงาน (Work Permit)

หลังจากได้รับใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ควรจัดเตรียมเอกสารสำคัญประกอบการยื่นให้พร้อมตั้งแต่ปีถัดไป ใบอนุญาตทำงานสามารถต่ออายุในประเทศไทยได้ มีข้อควรระวังคือหากพ้น วันหมดอายุไปแล้วจะต้องยื่นขอใบอนุญาตทำงานใหม่อีกครั้ง

Work Permit

ขอบคุณภาพจาก : www.thaivisacenter.com

ใบอนุญาตทำงาน (Work Permit)และการควบตำแหน่งงาน

มีบางกรณีที่ควบตำแหน่งงานทั้งในบริษัทลูกและกลุ่มบริษัททั้งนี้ขึ้นอยู่กับบุคคลที่ทำหน้าที่รับชอบในบริษัท ในกรณีที่ควบตำแหน่งงาน ให้ยื่นขอใบอนุญาตทำงานของบริษัทหลักก่อนเป็นลำดับแรก

จากนั้นจึงยื่นขอใบอนุญาตสำหรับบริษัทที่จะควบตำแหน่ง (แบบคำขอ ตท.6) และหากได้รับการอนุญาต ใบอนุญาตดังกล่าวจะถูกระบุเพิ่มเติมลงในใบอนุญาตทำงานเดียวกันนี้ โปรดทราบว่าท่านอาจไม่ได้รับอนุญาตให้ควบตำแหน่งงาน สำหรับใบอนุญาตทำงานที่อยู่ภายใต้กรอบของการส่งเสริม-การลงทุน BOI

อื่น ๆ

กิจกรรมบางอย่างอาจได้รับการยกเว้นจากกรอบ “การทำงาน” ในประเทศไทย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรายละเอียดการทำงาน

  • ในกรณีที่มีระยะการทำงานไม่เกิน 15 วัน (ต้องยื่นขออนุญาตปฏิบัติงานเป็นการเร่งด่วนต่อกรมแรงงาน)
  • นอกจากนี้ ตามประกาศของกระทรวงแรงงานเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2558 แจ้งว่า 7 กิจกรรมต่อไปนี้ไม่ต้องยื่นหรือขอใบอนุญาตทำงาน
    1. การเข้าร่วมการประชุมและการสัมมนา
    2. การเข้าชมงานนิทรรศการ หรืองานแสดงสินค้า
    3. การเข้าเยี่ยมชมธุรกิจหรือพบปะเจรจาธุรกิจที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างธุรกิจ
    4. การเข้ารับฟังบรรยายพิเศษและวิชาการ
    5. การเข้ารับฟังการบรรยายในการอบรมและสัมมนาทางด้านเทคนิค
    6. การซื้อสินค้าในงานแสดงสินค้า
    7. การเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริษัทของตน



หากท่านกำลังมองหาบริษัทดำเนินการ visa สามารถติดต่อได้ที่ บริษัท บลู แอสซิสแท็นซ จำกัด


 



ขอบคุณภาพจาก:Work table photo created by freepik - www.freepik.com, www.thaiembassy.com

ขอใบเสนอราคา

แบบฟอร์มสำหรับ บริษัท บลู แอสซิสแท็นซ จำกัด เท่านั้น !

แชร์บทความ หรือข่าวสาร

Facebook
Line
Mail