ในการจัดการโลจิสติก์ในกระบวนการขนส่งสินค้านั้น นอกจากในเรื่องของบรรจุภัณฑ์ประเภท กล่องกระดาษ กล่องกระดาษลูกฟูก กระดาษฝอย กระดาษรองกล่อง รวมไปถึงบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่คอยช่วยปกป้องและรักษาคุณภาพของสินค้าไม่ให้แตกหักได้ง่าย อีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับการขนส่งนั้นก็คือ พาเลท เพราะเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายสินค้า และสำหรับผู้ประกอบการมือใหม่ ทางเรามีเรื่องของพาเลท และประโยชน์ที่ควรทราบมาแนะนำครับ
พาเลท คืออะไร
พาเลท (Pallet) คือ แท่นสำหรับการวางสินค้าเพื่อขนย้ายหรือจัดส่งและวางสินค้าในสถานที่เก็บสินค้า ลักษณะของพาเลทนั้นจะมีช่องไว้สำหรับให้งาของรถโฟล์คลิฟท์เสียบแท่นสินค้าขึ้นมา เพื่อช่วยให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการเคลื่อนย้าย
- พาเลทแบบใช้ครั้งเดียว (Single Used) วัสดุที่นำมาใช้ทำพาเลท ชนิดนี้มักจะเป็นวัสดุที่มีราคาถูกและเหมาะกับการใช้เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายครับ เช่น พาเลทกระดาษ หรือ พาเลทไม้
- แบบใช้หมุนเวียน (Recycle Used) เป็นงานที่จะต้องใช้เพื่อการขนส่ง เช่น การขนถ่ายสินค้าจากคลังเก็บสินค้าไปยังหน้าร้านต่างๆ แล้วนำพาเลทกลับมาใช้อีกรอบ ซึ่งพาเลทชนิดนี้ จะมีความแข็งแรงและมีความทนทานสูงต่อการใช้งาน เช่น พาเลทพลาสติก

ประโยชน์ของพาเลท
- ใช้ในการขนย้ายสินค้าจากคลังเก็บสินค้าไปยังยานพาหนะที่จะใช้ในการขนส่ง เช่น ขนส่งทางเรือ ทางอากาศ หรือ เครื่องบิน รวมถึงทางรถยนต์
- พาเลทกระดาษ พาเลทไม้ และ พาเลทพลาสติก หรืออื่นๆ ช่วยให้ระบบการขนย้ายสินค้าเป็นไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการขนส่ง
- การใช้พาเลทเป็นแท่นรองรับสินค้า ช่วยลดความเสียหายของสินค้า ในระหว่างการขนส่งหรือระหว่างการเคลื่อนย้ายได้เป็นอย่างดี
- พาเลทกระดาษ และ พาเลททำจากวัสดุอื่น ช่วยให้การจัดเก็บภายในคลังสินค้านั้นมีระบบ จัดวางสินค้าเป็นหมวดหมู่ และ ช่วยเพิ่มพื้นที่ในการจัดเก็บให้เป็นระเบียบง่ายต่อการเคลื่อนย้าย
- ระบบการจัดเก็บสินค้าแบบพาเลท ช่วยให้มีความสะดวกในการจัดเก็บและตรรวจสอบนับสินค้าคงเหลือได้ง่าย
- พาเลทกระดาษที่เหมาะสำหรับใช้ครั้งเดียวนั้น ยังเป็นประโยชน์ต่อการกระจายสินค้าจากคลังสินค้าไปยังตามบูธต่างๆได้ง่าย
- การเลือกใช้พาเลทให้เหมาะสมกับการใช้งานนั้น ยังช่วยในการบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับผู้ประกอบการนั้น การเลือกใช้พาเลททั้ง 2 ประเภท นั้น ควรศึกษาและเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับประเภทและลักษณะของงาน ก็จะส่งผลต่อต้นทุนการผลิตของคุณ และ สามารถทำกำไรได้เพิ่มมากขึ้นครับ
ที่มา: www.hongthaipackaging.com