เศษเหล็ก เศษพลาสติก หากถูกวางไว้เฉยๆ หรือ วางระเกะระกะ จะดูเป็นเศษขยะที่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ใดๆได้ต่อ เนื่องจากเศษเหล็ก และเศษพลาสติกในบ้านเรานั้น มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ทว่า ทำอย่างไรดี เศษเหล็ก และเศษพลาสติก ถึงจะสร้างประโยชน์ให้แก่เราได้ ในวันนี้ทางเราจะมาอธิบายถึงเศษเหล็กที่เหลือใช้ และเศษพลาสติก ที่สามารถนำไปต่อยอดหรือสร้างประโยชน์อย่างไรต่อได้บ้างครับ
เศษเหล็ก

เศษเหล็กนี้นับว่าเป็นสิ่งที่สามารถนำมารีไซเคิลได้มากที่สุดเลยทีเดียว เนื่องจากเศษเหล็ก นี้เกิดจากกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมที่เกิดชำรุด เสื่อมคุณภาพ หรือ เกิดการเสียหาย และหมดอายุการใช้งาน ซึ่งเศษเหล็กที่ถูกพบมากที่สุดนั้นก็คือ เศษเหล็กที่มาจากโรงงานอุตสาหกรรม เศษเหล็กจากโรงหลอม หรือ เศษเหล็กจากสินค้าที่หมดอายุต่างๆ อาจจะเป็นโครงเก้าอี้ โครงประตู จากบ้านของเรา ซึ่งเหล็กที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้ สามารถนำกลับมารีไซเคิลใหม่ได้ สามารถช่วยลดปริมาณขยะของโลก อีกทั้งยังลดการเกิดมลพิษได้อีกด้วย ซึ่งทำให้ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมของเรา เรามาดูกันครับว่าเศษเหล็กสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง
1. นำไปขายหรือจำหน่าย
เศษเหล็ก พวกนี้สามารถที่จะสร้างรายได้ นำไปขาย จำหน่ายได้ โดยการนำเศษเหล็กชิ้นเล็กๆที่ไม่ได้ถูกนำมาใช้งานแล้ว นำมาแปรรูป กลายเป็นสิ่งของประเภทอื่นๆได้อีก และสามารถขายได้ ซึ่งเราสามารถนำเศษเหล็กที่ไม่ได้ใช้แล้ว ไปขายให้กับบริษัท หรือผู้ให้บริการ ที่รับซื้อเศษเหล็ก ได้โดยตรง โดยสามารถทำการโทรนัดหมายให้ ทางบริษัทฯ หรือ ผู้ให้บริการรับซื้อเศษเหล็ก เข้ามาซื้อสินค้าได้ที่บ้านเรา หรือ สถานที่ที่เราได้กำหนดไว้ ซึ่งบริษัทฯ ที่ให้บริการ ก็จะเป็น บริษัท แสงดาว รีไซเคิล จำกัด ให้บริการ รับซื้อพลาสติกรีไซเคิล เช่น เศษเหล็ก เศษเหล็กรีไซเคิล เศษพลาสติก ชิ้นงานพลาสติก
เศษเหล็ก ที่เหลือจากการใช้งาน และไม่ได้สร้างประโยชน์ให้ต่อ เราสามารถคัดเศษหล็กเหล่านี้ เพื่อไปสร้าง หรือ ผลิตสินค้า ให้ออกมามีประโยชน์ และสามารถนำมาใช้งานได้จริงๆ อย่างเช่น โต๊ะ เก้าอี้ บาร์น้ำ โคมไฟ กรอบรูป หุ่นยนต์ หรือ งานศิลปะ การผลิตสิ่งของเหล่านี้ ช่วยให้ลดขยะเศษเหล็กที่ไม่ใช้แล้ว อีกทั้งยังได้ของตกแต่งบ้านให้สวยงามมากยิ่งขึ้นอีกด้วยครับ
3. นำไปหลอมให้เป็นเหล็กประเภทอื่นๆ
การนำเศษเหล็กไปหลอมมาใหม่ เป็นการรีไซเคิลอีกแบบ ซึ่งเป็นกระบวนการทำให้เศษเหล็กที่ไม่ได้ใช้แล้ว ถูกนำมาหลอม และสามารถนำกลับมาใช้ได้อีกครั้ง เช่น เหล็กแบน เหล็กฉาก เหล็กกล่องเหลี่ยม โดยวิธีนี้นั้น จะทำให้เศษเหล็ก ไม่ถูกทิ้งอย่างสูญเปล่าอย่างแน่นอน
เศษพลาสติก

เศษพลาสติก นี้นับว่าเป็นขยะ ที่สร้างมลพิษต่างๆ อันดับต้นๆของโลก เนื่องจากชีวิตประจำวันของเรานี้ ได้ใช้งานพลาสติกเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นขวดน้ำ ถุงดำ ถุงพลาสติกใส ถุงใส่ข้าว หรือ ใส่ขนมๆต่างๆ ล้วนแต่ถูกใช้งานแล้วก็ถูกนำไปทิ้งให้กลายเป็นเศษพลาสติก ซึ่งพลาสติกนั้นใช้ระยะเวลานานมากในการย่อยสลาย ซึ่งสิ่งเดียวที่เราสามารถทำได้ก็คือ นำไปจำหน่ายต่อให้กับบริษัท หรือ ผู้ให้บริการรับซื้อเศษพลาสติก เพื่อนำไปรีไซเคิลต่ออีกหนึ่งกระบวนการ เรามาดูประเภทของพลาสติกกันครับ ว่า มีอะไรบ้าง
ประเภทของพลาสติก
1. Thermosetting
เป็นพลาสติกที่เกิดปฏิกิริยาทางเคมี เมื่อนำไปขึ้นรูป พลาสติกประเภทนี้ ไม่สามารถที่จะนำไปหลอมรวม และไม่สามารถนำกลับมาใช้งานได้ใหม่ได้ ซึ่งพลาสติกประเภทนี้ เช่น Epoxy , Phenolic และ Melamine
2. Thermoplastic
พลาสติกชนิดนี้ จะหดตัวเมื่อนำไปถูกความร้อน และแข็งตัวเมื่อเย็นลง ซึ่งพลาสติกประเภทนี้ สามารถที่จะนำมาหลอมและขึ้นรูปได้ใหม่ ซึ่งพลาสติกที่ถูกนำมารีไซเคิลหลักๆแล้ว ล้วนแต่มาจากพลาสติกประเภทนี้ ซึ่งจะมีสัญลักษณ์อยู่ที่ตัวพลาสติกว่าสามารถนำไปรีไซเคิลได้ หรือ สามารถอ่านต่อได้ที่ พลาสติกประเภทใดบ้าง ที่รีไซเคิลได้
กระบวนการรีไซเคิลพลาสติก

1. Primary Recycling
การนำเศษพลาสติก (Post Industrial Scrap) ที่เป็นประเภทเดียวกันและไม่มีสิ่งปนเปื้อน ที่เกิดในกระบวนการผลิตหรือขึ้นรูปกลับมาใช้ซ้ำภายในโรงงาน โดยสามารถนำมาใช้ซ้ำทั้งหมดหรือเติมผสมกับเม็ดใหม่ที่อัตราส่วนต่างๆ
2. Secondary Recycling
เป็นการรีไซเคิลทางกายภาพ (Physical Processing) เป็นกระบวนการหลอมขึ้นรูปใหม่ เป็นการนำพลาสติกที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว ทำความสะอาด บด หลอม และขึ้นรูปกลับไปเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกอีกครั้ง
3. Tertiary recycling
- Chemical recycling (การรีไซเคิลทางเคมี) กระบวนการที่ทำให้โครงสร้างสายโซ่พอลิเมอร์เกิดการขาด หรือแตกออก (Depolymerisation) ได้มอนอเมอร์ (Monomer) หรือโอลิโกเมอร์ (Oligomer) เป็นผลิตภัณฑ์เมื่อนำมาทำให้บริสุทธิ์ โดยการกลั่น และตกผลึกได้เป็นสารตั้งต้น ที่มีคุณภาพสูง ซึ่งสามารถนำไปใช้ผลิตเป็น PET ใหม่ได้
- Thermolysis (การรีไซเคิลทางความร้อน) โครงสร้างของ PET สามารถเกิดการแตก หรือขาดได้โดยใช้ความร้อน เรียกว่า Thermolysis แบ่งออกได้เป็น 3 วิธี คือ แบบไม่ใช้ออกซิเจน (Pyrolysis) แบบใช้ออกซิเจน (Gasification) และการเติมไฮโดรเจน (Hydrogenation)
4. Quaternary recycling
พลากติกสามารถนำมาเผาไหม้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนได้ โดยเริ่มจากการเผาไหม้ของพลาสติกให้ค่าความร้อนใกล้เคียงกับถ่านหิน (23 MJ/kg) ช่วยในการเผาไหม้ส่วนที่เป็นขยะเปียก ทำให้ลดปริมาณเชื้อเพลิงที่ต้องใช้ในการเผาขยะ
