ค้นหา
ความแตกต่างค่าระวางสินค้าระหว่าง Volume Weight และ Actual Weight

ความแตกต่างค่าระวางสินค้าระหว่าง Volume Weight และ Actual Weight

ผู้เขียนบทความ : At Once
By : At Once

รายละเอียดที่จะเสนอในบทความนี้ ก็คือ เรื่องของความแตกต่างในการคำนวณค่าระวางของสินค้า ระหว่าง Volume Weight และ Actual Weight

ซึ่งทั้ง 2 ลักษณะข้างบนนั้นคือ ในการที่เราจะคำนวณค่าระวางสินค้า ในการขนส่งทางอากาศนั้น เราสามารถที่จะคำนวณโดยคิดได้จาก 2 ลักษณะ

1. Volume Weight

Volume Weight คือ การที่คิดจากขนาดของกล่องบรรจุสินค้าหรือหีบห่อที่ใช้บรรจุสินค้า


2. Actual Weight

Actual Weight คือ การที่คำนวณจากน้ำหนักรวมของสินค้าที่ชั่งได้ หรือ น้ำหนักจริงจากสินค้านั้น


Chargeable Weight

Chargeable Weight คือ น้ำหนักจากสายการบินที่ใช้ในการคำนวณค่าระวางสินค้า ซึ่งจะมีการที่เปรียบเทียบกันระหว่าง ขนาดของสินค้าและน้ำหนักจริงของสินค้า โดยที่จะนำทั้งสองค่ามาเปรียบเทียบกันเพื่อจะดูว่าค่าไหนที่มีมากกว่ากันก็จะใช้ค่านั้นในการคิดค่าระวาง


การจัดการพื้นที่ ที่มีอยู่จำกัด

การขนส่งสินค้าโลจิสติกส์นั้น มักจะมีพื้นที่ ที่จำกัดในการจัดเก็บสินค้าและในส่วนของน้ำหนักสินค้าที่จะรับได้นั้นก็มีจำกัดเหมือนกัน


ตัวอย่างในการคำนวณ Chargeable Weight นั้นจะมีตัวอย่างดังนี้

หากคุณต้องการที่จะส่ง แก้วน้ำ 2 ตัน กับ สำลี 2 ตัน โดนเครื่องบินลำหนึ่ง ถ้าเปรียบเทียบแล้ว แก้วน้ำนั้นมีขนาดเล็กโดยรวมกว่าสำลีแต่มีน้ำหนักมาก แต่สำลีนั้นมีน้ำหนักที่เบากว่าแก้วน้ำแต่มีขนาดสินค้าโดยรวมที่ใหญ่ ซึ่งจะทำให้การใช้พื้นที่ในการขนส่งนั้นมีจำนวนที่มากกว่า ทางสายการบินที่บริการนั้น อาจจะต้องเสียกำไรอย่างมากในการขนส่ง หากคำนวณค่าระวางสินค้าโดยใช้เพียงแค่ Actual Weight เพราะในการที่ขนส่งสำลีนั้น จะใช้พื้นที่ในปริมาณที่มาก ในการที่จะหลีกเลี่ยงสถานการณ์แบบนี้ เราก็จะใช้ Volume Weight มาคำนวณค่าระวางด้วยเช่นกัน


กฎในการคำนวณค่าระวางสินค้า

เการที่จะคิดคำนวณค่าระวางของการขนส่งสินค้า ก็จะใช้ Actual Weight และ Volume Weight มาใช้คำนวณและเปรียบเทียบว่าค่าไหน มีมากกว่ากัน ก็จะใช้ค่านั้นในการคิดค่าระวางสินค้าต่อไปและการคำนวณ Volume Weight ในการขนส่งสินค้าผ่านทางเครื่องบินนั้น ซึ่งกฎของการขนส่งทางเครื่องบินจะมีกฎที่แตกต่างออกไปจากการขนสินค้าผ่านทางเรือ

ในการที่เราคำนวณค่าระวางหรือค่าขนส่งของสินค้าที่เราขนส่งนั้น ก็จะสามารถคำนวณโดยคิดจาก 2 ลักษณะ คือ Volume Weight และ Actual Weight ซึ่งในเรื่องนี้จะเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการขนส่งสินค้าในทุกประเภท และในเรื่องนี้จะมีประโยชน์มากสำหรับการทำธุรกิจนำเข้าและส่งออกสินค้าของคุณครับ


ที่มา: forwarder-university

แชร์บทความ หรือข่าวสาร

Facebook
Line
Mail