การเก็บรักษาอาหารใน อุณหภูมิในการเก็บอาหาร ที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญมาก เพื่อช่วยยืดอายุการเก็บรักษา รักษาคุณภาพ และป้องกันการเน่าเสียของอาหาร โดย อุณหภูมิในการเก็บอาหาร ที่เหมาะสมในการเก็บอาหารแต่ละประเภทมีดังนี้
- อาหารแห้งและอาหารกระป๋อง ควรเก็บในที่แห้ง เย็น และไม่โดนแสงแดด โดย อุณหภูมิในการเก็บอาหาร ที่เหมาะสมอยู่ที่ประมาณ 10-21°C (50-70°F) หากอุณหภูมิสูงเกินไป จะทำให้อาหารเสื่อมคุณภาพเร็วขึ้น และอาจเกิดการปนเปื้อนของเชื้อรา ส่วนอาหารกระป๋องควรเก็บในที่แห้ง ไม่ควรโดนความชื้น เพื่อป้องกันสนิมและการปนเปื้อนของแบคทีเรีย
- ผักและผลไม้สด ควรเก็บในตู้เย็นที่อุณหภูมิประมาณ 4-10°C เพื่อช่วยชะลอการเน่าเสีย ยืดอายุการเก็บรักษา โดยผักใบเขียวควรเก็บในที่มีความชื้นสูงเล็กน้อยเพื่อไม่ให้ผักเหี่ยวเร็ว ส่วนผลไม้ที่สุกแล้วอาจเก็บนอกตู้เย็นได้ในระยะสั้น แต่ควรเก็บในตู้เย็นหากต้องการเก็บไว้นานขึ้น ไม่ควรแช่ผักและผลไม้ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่านี้ เพราะจะทำให้วิตามินและแร่ธาตุลดลงได้ และผลไม้บางชนิดก็ไม่เหมาะกับการแช่เย็น เพราะความเย็นอาจทำให้เนื้อผลไม้ช้ำและเสียรสชาติได้
- เนื้อสัตว์ ปลา และอาหารทะเล ต้องเก็บในตู้เย็นที่มี อุณหภูมิในการเก็บอาหาร ต่ำกว่า 0°C ซึ่งอาหารประเภทนี้ควรบรรจุลงภาชนะที่ป้องกันการรั่วซึมได้ เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอาหารเป็นพิษ หากต้องการเก็บไว้นานเกิน 2 วัน ควรแช่แข็งในช่องฟรีซเซอร์ที่อุณหภูมิ -18°C (0°F) หรือต่ำกว่า เพื่อหยุดการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและถนอมคุณภาพอาหาร เมื่อจะนำมาบริโภคควรละลายในตู้เย็นชั้นล่าง ไม่ควรละลายในอุณหภูมิห้องเพราะเสี่ยงต่อการปนเปื้อนแบคทีเรีย
- ไข่ ควรเก็บในตู้เย็นที่อุณหภูมิประมาณ 4-5°C โดยวางในช่องเก็บไข่ที่ประตูตู้เย็น ไม่ควรล้างเปลือกไข่ก่อนเก็บเพราะจะทำให้เปลือกไข่เสียหาย เชื้อโรคเข้าไปในไข่ได้ง่ายขึ้น และไข่ควรเก็บแยกจากอาหารอื่นๆเพื่อป้องกันการปนเปื้อนข้าม โดยทั่วไปไข่ที่รักษาไว้ในช่วงอุณหภูมินี้และอายุไม่เกิน 9 วัน ถือว่าเป็นไข่ใหม่ หากไข่อายุ 10-12 วัน ถือว่าไข่เริ่มเก่าแล้ว และถ้าไข่อายุเกิน 21 วัน เสี่ยงจะมีกลิ่นคาว ไม่ควรนำมาประกอบอาหาร โดยเกณฑ์สากลกำหนดไว้ว่าไข่ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค ไม่ควรมีอายุเกิน 21 วัน
- อาหารปรุงสุก เมื่อปรุงเสร็จควรบริโภคทันที่ หากมีเหลือต้องเก็บในตู้เย็นทันทีภายใน 2 ชั่วโมง ในภาชนะปิดสนิท และอุ่นให้ร้อนทั่วถึงก่อนรับประทาน เพราะช่วง อุณหภูมิในการเก็บอาหาร 5-60°C (41-140°F) เป็นช่วงอันตรายที่แบคทีเรียเจริญได้ดี ไม่ควรเก็บอาหารปรุงสุกไว้ในตู้เย็นเกิน 3-4 วัน หรือในตู้เย็นเกิน 3-4 เดือน
- อาหารแช่แข็ง ควรเก็บในช่องฟรีซเซอร์ที่อุณหภูมิ -18°C (0°F) หรือต่ำกว่า เพื่อคงคุณภาพอาหารและป้องกันแบคทีเรียเจริญเติบโต ควรแบ่งบรรจุในปริมาณที่พอดีต่อการนำมาละลายรับประทานในแต่ละครั้ง และไม่ควรนำอาหารที่ละลายแล้วกลับไปแช่แข็งซ้ำ เพราะจะทำให้คุณภาพอาหารด้อยลง
** อุณหภูมิห้องระหว่าง 4-60°C เป็นช่วงอุณหภูมิที่แบคทีเรียสามารถเติบโดได้เป็นอย่างดี ซึ่งอาจเกิดจากการปรุงอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ หรือการวางอาหารที่ปรุงสุกแล้วทิ้งไว้จนอุณหภูมิลดลง ซึ่งการกินอาหารเหล่านี้เข้าไปอาจก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาได้ **
การเก็บอาหารในอุณหภูมิที่เหมาะสมจะช่วยรักษาคุณภาพ ความปลอดภัย ป้องกันการเน่าเสียและการปนเปื้อนของเชื้อโรค ทำให้อาหารมีอายุการเก็บรักษาที่ยาวนานขึ้น แต่สิ่งสำคัญคือต้องสังเกตอาหารทุกครั้งก่อนรับประทาน หากพบความผิดปกติของกลิ่น สี หรือรสชาติ ไม่ควรบริโภคอาหารนั้นเพื่อความปลอดภัย และประโยชน์ต่อสุขภาพของเราครับ
- อุณหภูมิภายในที่จัดเก็บเปลี่ยนแปลงได้ตั้งแต่ -18 ° C ถึง + 18 ° C และสามารถใช้ได้ในทุกโซนอุณหภูมิ
- พื้นที่ขนถ่ายสินค้ากว้างขวาง ยืดหยุ่นให้มีพื้นที่สำหรับการคัดแยกและการกระจายสินค้า
- ภายใต้ KWMS เราดำเนินงาน คลังสินค้า ที่รวดเร็วและมีคุณภาพโดยการจัดการสถานที่โดยใช้บาร์โค้ด
- ติดต่อตอนนี้ รับเลย !!! รับส่วนลด ทันที 40%
Website Profile : บริษัท โคโนอิเกะ คูล โลจิสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด