ค้นหา
ทำยังไงให้บริษัทเป็นที่รู้จัก

ทำยังไงให้บริษัทเป็นที่รู้จัก

ในปัจจุบัน มี “อายุน้อยร้อยล้าน” กันเยอะมาก แต่น้อยมากที่เจ้าของกิจการเหล่านั้น จะพูดถึงในด้านที่เค้าเคยล้มเหลวมาก่อนที่จะประสบผลสำเร็จ ซึ่งส่วนมากจะออกมาบอกแค่ในส่วนเดียว คือส่วนที่สำเร็จแล้ว อยากรู้ไหมว่า ทำไมถึงเจ้าของธุรกิจเหล่านั้นถึงไม่บอกในส่วนที่ล้มเหลว เพราะ อาจจะกลัวเสียหน้า หรือ เหตุผลบางประการ แต่สิ่งที่เราจะ Focus คือ คนที่ประสบความสำเร็จ เค้าทำกันยังไง

“ทำยังไงให้บริษัทเป็นที่รู้จัก” ซึ่งการเป็นที่รู้จักจะนำไปสู่การปิดยอดการขาย การได้พันธมิตรทางธุรกิจเพิ่ม หรือ การที่ทำให้บริษัทเติบโตขึ้น ในกรณีที่ธุรกิจเราเป็น ธุรกิจประเภทค้าขาย นั่นคือการทำให้สินค้าของเรา “ขายได้” แต่จะทำอย่างไรให้สินค้าเราขายได้ คงต้องเริ่มจากคำถามที่ว่า “แล้วจะทำอย่างไรให้คนรู้จักสินค้าเรา”

โดยหลักการ (ที่บริษัทใหญ่ ๆ เขาทำกัน) เบื้องต้นก่อนที่จะออกสินค้ามาเป็นรูปเป็นร่างนั้นนักธุรกิจเขามักจะวางแผนเรื่องของ “การโฆษณาประชาสัมพันธ์” เพื่อให้คนได้มีโอกาสได้รู้จักสินค้าเหล่านั้นกันก่อน

แล้วประชาสัมพันธ์เขาทำกันอย่างไร !!!

สำหรับ SMEs เมื่อก่อนอาจจะใช้วิธีการทำ แผ่นพับ ใบปลิว ป้ายประกาศ นิตยสาร เท่าที่พอจะมีงบประมาณทำได้ หากเป็นบริษัทที่ใหญ่ขึ้นมาหน่อยก็จะใช้สื่อ วิทยุ หากมีงบประมาณมากขึ้นไปอีกก็ลง TV เขาลงโฆษณาประชาสัมพันธ์นาทีกันเป็นแสน ๆ  เรียกได้ว่า SMEs ยากที่จะเข้าถึงสื่อประชาสัมพันธ์เหล่านี้ครับเพราะงบน้อย
ทว่าในปัจจุบัน….การเข้าถึงเครื่องมือทางการตลาด เรามีเท่ากันครับ ไม่ว่าจะเป็น SMEs หรือ บริษัทระดับมหาชน นั่นก็คือ Internet และ Social Media
เรียกได้ว่า บริษัทใหญ่มีเว็บ เราก็มีเว็บได้ บริษัทใหญ่มีแฟนเพจ เราก็มีแฟนเพจได้ บริษัทใหญ่ลงโฆษณาได้ เราก็ลงโฆษณาได้ (แม้จะน้อยกว่า)
เอาหละ เมื่อเครื่องมือเรามีเท่ากัน จะมัวรีรออะไร จัดงบประมาณมาทำการประชาสัมพันธ์ บอกเล่าเรื่องราว สินค้า บริการ ให้คนได้รู้จัก ได้เห็น ให้เร็วที่สุด เพราะยิ่งทำให้คนได้รู้จักเร็วนั่นหมายถึงโอกาสในการขายก็ตามมา

จะใช้สื่อไหนดีเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้ามากที่สุด (และเร็วด้วยนะ)

เมื่อรู้แล้วว่า การโฆษณาเป็นสิ่งที่ “ต้องทำ” (ไม่ใช่แค่ทางเลือก) แล้วเราควรจะใช้สื่อไหนจึงจะเข้าถึงลูกค้าได้มากและเร็วถ้าเราลองสังเกตนักธุรกิจที่พอมีเงินทุนหน่อยเขามักจะใช้สื่อที่จะเป็น “บันได” เพื่อทำให้เขาหรือสินค้าของเขาเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นหลายคนเลือกที่จะพาตัวเองไปออกรายการ TV เช่น อายุน้อยร้อยล้าน , woody เกิดมาคุย หรือรายการที่เกี่ยวกับธุรกิจ เส้นทางสร้างอาชีพ ฯ อะไรก็ว่าไป ผมเรียกช่องทางเหล่านี้ว่า “สะพานดาว” แต่คุณอาจจะต้องมีความสำเร็จในระดับหนึ่ง มีเงินทุนในระดับหนึ่งจึงจะก้าวไปสู่บันไดเหล่านี้ได้

เรามาดูสื่อช่องทางโฆษณาออนไลน์ มีอะไรบ้าง

1.Facebook Ads

จุดเด่นของ Facebook Ads

  • Facebook Ads สนับสนุน Cross-media platform หรือก็คือแบรนด์จ่ายเงินซื้อโฆษณาผ่าน Facebook Manager และแบรนด์สามารถควบคุมโฆษณาให้แสดงผ่านทั้ง Facebook, Instagram, Messenger รวมไปถึง Audience Network อื่นๆ ด้วย 
  • Facebook Ads มีระบบ Automation สำหรับคนที่พึ่งเริ่มยิงโฆษณาผ่าน Facebook Ads Manager หรือถ้าเชี่ยวชาญแล้วสามารถ Custom แคมเปญได้ด้วยตัวเอง 
  • Facebook Ads ช่วยเจาะกลุ่มเป้าหมายให้แคบลงผ่าน Custom Audience ที่สามารถลงรายละเอียดได้ยิบย่อยเพื่อยิงให้ตรงเป้าหมายยิ่งขึ้น หรือแม้แต่การ Retarget ไปยังกลุ่ม ลูกค้าเดิมก็สามารถทำได้ 

จุดด้อยของ Facebook Ads

  • Facebook Ads มีนโยบายในการลงโฆษณาที่เข้มงวด ถ้าทำผิดกฎอาจะถูกแบนได้
  • Facebook Ads มีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงตลอดจำเป็นต้องคอย update ข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ

2. Google Ads

จุดเด่นของ Google Ads

  • Google Ads สามาถเจาะกลุ่มลูกค้าได้อย่างชัดเจนและแสดงผลได้หลากหลายรูปแบบ
  • Google Ads มี Google Dispay Network ที่เป็นพาร์ทเนอร์ครอบคลุมทั่วโลก
  • Google Ads ทำงานแบบระบบ Bid ที่แบรนด์จะจ่ายเงินต่อเมื่อมีคนคลิ๊กเข้าเว็บไซต์

จุดด้อยของ Google Ads

  • Google Ads มีการใช้งานที่ค่อนข้างซับซ้อนต้องเรียนรู้และต้องทำการ Research Keyword อย่างละเอียดและเพิ่ม Negative Keyword
  • ให้เพียงพอก่อนทำการลงโฆษณาเพื่อให้มั่นใจว่า Google Ads จะแสดงผลโฆษณาให้ถูกกลุ่มเป้าหมาย

3.Tiktok Ads

จุดเด่นของ Tiktok Ads

  • Tiktok Ads เปิดพื้นที่ให้แบรนด์ที่อยากใช้ความสร้างสรรค์ของตัวเองมาโปรโมทสินค้าและบริการ รวมถึงยังให้โอกาสเหล่า Creator ร่วมสร้าง UGC ของตัวเองช่วยสร้างการรับรู้เกี่ยวกับแบรนด์ออกเป็นวงกว้าง
  • Tiktok Ads คือ Social Media ที่ไม่เป็นรองแอปพลิเคชันอื่นเลย ไม่ว่าจะจำนวนผู้ใช้งานหรือจำนวนผู้ดาวน์โหลดก็มีเยอะพอกับแอปยักษ์ใหญ่ตัวอื่น มีโอกาสสูงที่จะมีคนมารู้จักหรือเลือกซื้อสินค้าและบริการผ่านช่องทางนี้

จุดด้อยของ Tiktok Ads

  • Tiktok Ads ไม่เหมาะกับแบรนด์ที่มีงบโฆษณาจำกัดหรือไม่สามารถยืดหยุ่นได้ เพราะมีราคาค่อนข้างแพงโดยเฉพาะโฆษณารูปแบบ Takeover 
  • Tiktok Ads ไม่เหมาะกับโฆษณาที่ต้องใช้ Text หรือรูปภาพที่เยอะเกินไป Tiktok อาจะไม่ใช่ทางเลือก ถ้าแบรนด์ไม่ได้มีความตั้งใจจะโปรโมทโฆษณาผ่านรูปแบบวิดีโอ

4.Instagram Ads

จุดเด่นของ Instagram Ads

  • Instagram Ads ทำงานผ่าน Facebook Ads Manager ซึ่งแบรนด์ที่มีการสร้างแคมเปญผ่านทั้งสองช่องทางโฆษณาออนไลน์นี้สามารถติดตามและดูแลการทำงานได้จากที่เดียว 
  • Instagram Ads ให้โอกาสแบรนด์แสดงความเป็นตัวของตัวเองผ่าน Visual เป็นพื้นที่ที่สามารถนำเสนอสินค้าและบริการผ่านรูปภาพและวิดีโอได้อย่างเต็มที่ 
  • Instagram Ads มีลูกเล่นเยอะไม่ว่าจะเป็นการเล่นกับ Hashtag ดังระดับโลกหรือเจาะกลุ่มเป้าหมาย หรือแม้แต่การสร้าง Interaction กับลูกค้าบน Story ผ่านฟีเจอร์ Question หรือ Poll Instagram Ads เปิดโอกาสให้แบรนด์ร่วมเป็น Partner กับเหล่าคนดัง

จุดด้อยของ Instagram Ads

  • Instagram Ads มีผู้ใช้งานที่ค่อนข้างจำกัด เพราะว่าผู้ใช้งานส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงอายุ 18-34 ปี ในขณะที่ช่วงอายุอื่นมีน้อยกว่ามาก ดังนั้น Instagram อาจจะไม่ใช่ช่องทางที่ใช่สำหรับแบรนด์ที่ไม่ได้มีกลุ่มเป้าหมายในช่วงอายุนี้ 
  • Instagram Ads ไม่เหมาะกับการโฆษณาที่เน้นใช้ข้อความหรือตัวอักษรที่เยอะ แถมยังไม่สามารถใส่ลิงก์ไว้ใน Caption ด้วย 
  • Instagram Ads อาจเหมาะแค่บางอุตสาหกรรมที่เน้น Visual มากกว่าธุรกิจที่มีสินค้าหรือบริการที่ซับซ้อน เช่น ธุรกิจ B2B แต่ยังสามารถใช้ช่องทางนี้สร้าง Awareness ของแบรนด์ได้อยู่

5.Twitter Ads

จุดเด่นของ Twitter Ads

  • Twitter Ads มีการแบ่ง segmentation ที่ละเอียดทำให้เป้าหมายของโฆษณาแบรนด์แคบลงและเฉพาะเจาะจงมากขึ้น โดยที่แบรนด์สามารถเลือก Keyword ในการทำโฆษณาได้และเลือก Objective ของโฆษณาได้เช่นเดียวกัน 
  • Twitter Ads คือพื้นที่ที่แบรนด์สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายได้ผ่านการใช้แฮชแท็กและนี่คือช่องทางออนไลน์ที่ผู้คนปฏิสัมพันธ์กับเทรนด์ในช่วงนั้นได้ดีที่สุด 

จุดด้อยของ Twitter Ads

  • Twitter Ads มีการติดตามผลการดำเนินงานของโฆษณา แต่อาจจะยังไม่ละเอียดเท่า Facebook หรือ Google Ads
  • Twittter Ads อาจจะไม่เหมาะกับแบรนด์ที่ต้องการให้โฆษณาอยู่บนหน้าไทม์ไลน์เป็นเวลานาน เพราะว่าเป็นช่องทางออนไลน์ที่ Timeline ไหลเร็วไปตามเทรนด์ ณ ขณะนั้น
  • Twitter Ads เป็นการโฆษณาที่คำนวณ ROI (Return On Investment) ได้ยาก

6.LinkedIn Ads

จุดเด่นของ LinkedIn Ads

  •  LinkedIn Ads ใช้งานง่ายและสามารถสร้างโฆษณาได้อย่างรวดเร็ว
  •  LinkedIn Ads มีรูปแบบของโฆษณาที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพนิ่งหรือวีดีโอก็สามารถเลือกใช้สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างอิสระ 
  •  LinkedIn Ads มีโฆษณาแบบพิเศษสำหรับช่องทางนี้เท่านั้นนั่นก็คือการส่งโฆษณาผ่านทางข้อความไปหากลุ่มเป้าหมายเป็นรายบุคคลได้ 

จุดด้อยของ LinkedIn Ads

  • การสร้างโฆษณาผ่าน LinkedIn Ads จะต้องมีงบประมาณขั้นต่ำประมาณ 300 บาทต่อวัน อาจจะไม่เหมาะกับแบรนด์ที่มีงบประมาณน้อยหรืองบประมาณไม่สามารถยืดหยุ่นได้ 
  • LinkedIn Ads อาจเข้าถึงกลุ่ม Audience ได้ไม่หลากหลายในประเทศไทยและเหมาะกับการใช้งานแค่บางอย่าง เช่น Recruitment หรือ Lead Generation สำหรับ B2B

7.LINE Ads platform

จุดเด่นของ Line Ads Platform

  • LINE มีผู้ใช้งานกว่า 49 ล้านคนและมีโอกาสที่จะมีผู้พบเห็นหรือเข้าชมโฆษณาสูงขึ้น
  • LINE มีทีมซัพพอร์ตเป็นคนไทย สามารถสื่อสารด้วยภาษาไทยได้ 

จุดด้อยของ LINE Ads Platform

  • LINE คือแอปพลิเคชันที่ผู้คนมักจะใช้ chat กันมากที่สุด ดังนั้นโอกาสที่พวกเขาจะเข้าไปหน้าอื่นๆ นอกเหนือจากหน้า Chat จะน้อยลง
  • แบรนด์ที่ซื้อโฆษณาผ่าน LINE Ads Platform ด้วยตนเองไม่สามารถเลือกวัตถุประสงค์บางข้อได้จำเป็นต้องพึ่งพาเอเจนซี่

8.YouTube Ads

จุดเด่นของ YouTube Ads

  • YouTube Ads เป็นช่องทางโฆษณาออนไลน์ที่เหมาะกับการนำเสนอคอนเทนต์แบบวิดีโอ
  • YouTube Ads ทำงานผ่าน Google Ads และแบรนด์สามารถวัดผลได้จากที่เดียวเลย

จุดด้อยของ YouTube Ads

  • สำหรับการทำ YouTube Ads นั้นแบรนด์ต้องลงทุนในการสร้างวิดีโอ 
  • YouTube Ads อาจมีข้อจำกัดในเรื่อง Targeting ซึ่งแบรนด์ต้องทำความเข้าใจก่อนใช้งาน

9.Shopee Ads

จุดเด่นของ Shopee Ads

  • Shopee Ads มีระบบที่คล้ายคลึงกับ Google Ads ดังนั้นถ้ามีประสบการณ์อาจจะไม่ใช่เรื่องยากมาก
  • Shopee Ads เน้นการทำ Native Ads ที่สามารถกลมกลืนโฆษณาไปกับหน้า Timeline ได้

จุดด้อยของ Shopee Ads

  • Ad Rank ขึ้นอยู่กับจำนวนราคาประมูล Keyword อาจะไม่เหมาะกับแบรนด์ที่มีงบจำกัด

10.Lazada Ads 

จุดเด่นของ Lazada Ads

  • Lazada Ads มีการทำงานคล้าย Google Ads ที่สามารถจ่ายเงินเพื่อทำ Search Ads รวมถึง Display Ads ภายนอก
  • Lazada Ads แบบ Partner Promotion จะไม่คิดเงินจากการคลิก แต่จากการซื้อขาย ทำให้แบรนด์ไม่ต้องเสียเงินหลายต่อ

จุดด้อยของ Lazada Ads

  • Search Ads บน Lazada อาจไม่เหมาะกับแบรนด์ที่มี Budget จำกัดหรือไม่สามารถยืดหยุ่นได้

ซึ่งทั้งหมดก็มีทั้งจุดเด่นและจุดด้อยของตัวเอง  


พื้นที่เหล่านี้ล้วนเป็นเหมือนเครื่องช่วยกระจาย awareness ให้กับแบรนด์  ดังนั้นก่อนการเลือกจ่ายเงินเพื่อโปรโมทสินค้าและบริการนั้น แบรนด์จำเป็นต้องรู้ว่าสินค้าและบริการของตัวเองคืออะไรและกลุ่มลูกค้าของแบรนด์คือใคร มีพฤติกรรมอย่างไร มักจะอยู่ในพื้นที่ออนไลน์แบบไหน คำถามเหล่านี้จะช่วยให้แบรนด์สามารถวาดภาพของธุรกิจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น รวมถึงยังสามารถสร้างแคมเปญที่ไปถึงกลุ่มลูกค้าอย่างแท้จริงเพราะว่ากลยุทธ์คือคือกำลังหลักของการทำธุรกิจ

ขอใบเสนอราคา

แบบฟอร์มสำหรับ 1-CE WIND CO., LTD. เท่านั้น !

แชร์บทความ หรือข่าวสาร

Facebook
Line
Mail