หลังคาบ้าน เป็นโครงสร้างหลังและสำคัญต่อตัวบ้านเป็นอย่างมาก ทำหน้าที่ปกคลุมด้านบนของตัวบ้าน เพื่อป้องกัน ลม ฝน แสงแดด ซึ่งหลังคาบ้านมีหลากหลายรูปแบบตามสไตล์ของเจ้าของบ้าน แต่หลังคาบ้านแบบไหนกันที่ช่วยป้องกันแสงแดด และ ระบายความร้อนได้ดี เหมาะกับสภาพอากาศของประเทศเรา ในวันนี้เรามี 5 แบบหลังคาบ้าน มาแนะนำกันครับ
1.หลังคาทรงจั่ว (Gable Roof)
หลังคาจั่วนี้ เป็นหลังคาที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในประเทศไทย ด้วยรูปแบบเป็นรูปแบบที่ก่อสร้างได้ง่าย รูปทรงมีความลาดเอียง ถูกออกแบบมาเพื่อให้อากาศไหลเวียนได้ดียิ่งขึ้น และ ช่วยให้มวลอากาศเย็นเข้ามาในตัวบ้าน ช่วยระบายความร้อนใต้หลังคาได้เป็นอย่างดี และ ระบายน้ำก็ดี เช่นกัน
2.หลังคาทางปั้นหยา (Hip Roof)
เป็นหลังคาที่มีความทนทานต่อสภาพอากาศ เช่น แดด และ ฝน หลังคามีความลาดเอียดทั้ง 4 ด้าน จึงมีความแข็งแรงกว่าแบบอื่น ด้วยลักษณะของโครงสร้างหลังตาที่ทุกด้านบรรจบที่จุดสูงสุดของตรงกลาง ในเวลาก่อสร้างจึงมีความยากในการสร้าง
3.หลังคาทรงมะนิลา (Hip Gable Roof)
หลังคาทรงมะนิลาเป็นการผสมผสานระหว่างหลังคาปั้นหยาและแบบจั่ว ซึ่งออกแบบมาให้มีลักษณะหลังคาจั่วที่ล้อมไปด้วยหลังคาทรงปั้นหยาลาดเอียงลงมาทั้ง 4 ด้าน ซึ่งข้อดีของหลังคาแบบนี้คือช่วยให้ตัวบ้านดูมีสไตล์และดูดี แถมยังมีพื้นที่ด้านบนสุดยังช่วยให้ระบายความร้อนใต้หลังตาได้อีกด้วย ทนต่อทุกสภาพอากาศในประเทศไทย แต่ข้อเสียของหลังคาแบบนี้คือ มีราคาที่แพง เพราะการก่อสร้างจะยาก และ มีรอยต่อหลายชั้น จำเป็นที่จะต้องใช้ช่างผู้ชำนาญการในการออกแบบและจัดสร้าง
4.หลังคาทรงหมาแหงน (Lean-To Roof)
หลังคาทรงหมาแหงนมีอีกชื่อคือ เพิงหมาแหงน มีลักษณะหลังคาที่เอนเอียงเพียงแค่ด้านเดียว มีรูปทรงที่เรียบง่าย ตอบโจทย์บ้านสไตล์โมเดิร์น สามารถนำไปปรับใช้กับบ้านหลากหลายรูปแบบ หลังคาชนิดนี้ มีโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อน จึงช่วยประหยัดในการก่อสร้างไปได้ มีข้อควรระวังเพียงองศาของความลาดตัวหลังคา ที่อาจจะก่อให้เกิดการรั่วซึมขึ้นมาได้
5.หลังคาแบน (Flat Roof)
หลังคาแบนนั้นเป็นหลังคาที่มีรูปแบบแบนราบ อยู่ในแนวนอน โดยมีความลาดเอียงน้อยกว่า 10 องศา ซึ่งหลังค้าแบนแบบนี้ยังไงก็จะต้องมีความลาดเอียงด้านบนนิดหน่อย เพื่อให้สามารถระบายน้ำฝนออกได้ง่าย หลังคาลักษณะนี้เหมาะกับสภาพอากาศที่มีฝนตกลงมาน้อย นิยมใช้กับบ้านแถบเมืองร้อนที่มีลมพายุ ซึ่งข้อดีของหลังคาชนิดนี้ คือ สามารถใช้ประโยชน์ในส่วนต่างๆได้เช่น การตากผ้า แต่ข้อเสียคือต้องออกแบบและก่อสร้างบริเวณของรอยต่อหลังคาให้ดี จำเป็นที่จะต้องใช้ช่างที่ชำนาญการในการออกแบบและก่อสร้าง เพื่อก่อไม่ให้เกิดปัญหาของการรั่วซึมในอนาคต
ที่มา: www.ttmconstruction.com