ในปัจจุบันประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีชาวต่างชาติเข้ามาทำงานมากมาย ทั้งจากการขยายตัวของธุรกิจ การลงทุนจากต่างประเทศ และอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่เติบโตอย่างรวดเร็ว หนึ่งในกระบวนการสำคัญที่ชาวต่างชาติต้องดำเนินการเพื่อเข้าทำงานในประเทศไทยคือการขอวีซ่าที่เหมาะสม ซึ่ง "Non-B Visa" หรือที่รู้จักกันในชื่อ Non-Immigrant Visa B เป็นประเภทวีซ่าที่ออกแบบมาเพื่อให้ชาวต่างชาติที่ต้องการทำงานในประเทศไทยสามารถทำงานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
ขั้นตอนการเปลี่ยนประเภทวีซ่าเพื่อทำงานในบริษัท
ประเทศไทยมีหลายปัจจัยที่ดึงดูดชาวต่างชาติให้เข้ามาใช้ชีวิต เช่น ค่าครองชีพที่ต่ำ อาหารที่หลากหลาย สภาพอากาศที่น่าสนใจ และทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงาม โดยทั่วไปแล้ว ชาวต่างชาติจะเข้ามาในประเทศไทยด้วยวีซ่าท่องเที่ยวก่อน จากนั้นจึงเปลี่ยนเป็นวีซ่าทำงานหรือประเภทอื่นในภายหลัง การเปลี่ยนประเภทวีซ่าสามารถทำได้ แต่ต้องมีวีซ่าท่องเที่ยว (Tourist Visa) หรือวีซ่าผ่านทาง (Transit Visa) เท่านั้น และวีซ่าเก่าจะต้องยังไม่หมดอายุเพื่อที่จะสามารถขอเปลี่ยนได้ สำหรับการขอใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย ชาวต่างชาติจะต้องเปลี่ยนวีซ่าเป็นประเภท Non-Immigrant Visa B หรือ Non-B โดยมีขั้นตอนดังนี้
- ชาวต่างชาติสามารถยื่นขอหนังสือเดินทาง Non-B ที่สถานทูตหรือสถานกงสุลไทยในประเทศของตน หรือยื่นคำขอเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตราหนังสือเดินทางเป็นประเภท Non-B ต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในกรณีที่ได้เดินทางเข้ามาในประเทศไทยแล้ว โดยถือหนังสือเดินทางประเภทนักท่องเที่ยว (Tourist Visa), คนเดินผ่านทาง (Transit Visa), ผ.30, ผผ.30 หรือ ผผ.90
- เมื่อได้รับการตรวจลงตราหนังสือเดินทางเป็นประเภท Non-B แล้ว ชาวต่างชาติจะต้องยื่นคำขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ต่อกรมจัดหางาน กระทรวงแรงงาน โดยระยะเวลาใบอนุญาตทำงานจะพิจารณาจากความจำเป็นของงาน หรือจากคำขอ และขึ้นอยู่กับผลประกอบการของสถานที่ทำงานนั้น ๆ โดยปกติแล้ว เจ้าหน้าที่จะอนุญาตให้ใบอนุญาตทำงานเป็นระยะเวลา 1 ปี แต่จะไม่เกิน 2 ปีต่อครั้ง
- หลังจากได้รับใบอนุญาตทำงานแล้ว ชาวต่างชาติสามารถยื่นขอต่อหนังสือเดินทางประเภทคนอยู่ชั่วคราว Non-B ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เพื่อขอระยะเวลาพำนักในราชอาณาจักรได้ 1 ปี โดยต้องยื่นคำขอก่อนหนังสือเดินทางหมดอายุ 90 วัน หากชาวต่างชาติยังไม่ได้เดินทางเข้ามาในประเทศไทย นายจ้างสามารถยื่นคำขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) แทนลูกจ้างได้ แต่ลูกจ้างชาวต่างชาติจะต้องเข้ามาแสดงตัวและรับใบอนุญาตทำงานภายใน 30 วัน
- เมื่อได้รับใบอนุญาตทำงานและหนังสือเดินทาง Non-B 1 ปีแล้ว ชาวต่างชาติจะต้องไปรายงานตัวและแจ้งข้อมูลที่พักอาศัยที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในเขตพื้นที่ทุก ๆ 90 วัน หากชาวต่างชาติเดินทางออกนอกประเทศก่อนถึงกำหนดรายงานตัวครั้งถัดไป เมื่อกลับเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว จะต้องไปรายงานตัวและแจ้งที่พักอาศัยในครั้งถัดไปภายใน 90 วัน นับจากวันที่เดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรครั้งสุดท้าย
เอกสารที่จำเป็นและค่าธรรมเนียมในการเปลี่ยนประเภทหนังสือเดินทาง
- แบบ ตม. 86 เฉพาะคนต่างด้าวที่มี Tourist Visa หรือ Transit Visa เพื่อขอเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา หรือ แบบ ตม. 87 เฉพาะคนต่างด้าวที่ไม่มีหนังสือเดินทางแต่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรประเภท ผ.30, ผผ.30 และ ผผ.90 เพื่อขอรับการตรวจลงตรา
- สำเนาหนังสือเดินทาง (เช่น หน้าข้อมูลส่วนตัว, รอยตราขาเข้า, รอยตราอนุญาตขออยู่ต่อฯ (ถ้ามี), บัตรขาออก (ตม.6))
- รูปถ่าย ขนาด 4×6 ซม. หรือ ขนาด 2 นิ้ว จำนวน 1 รูป
- ค่าธรรมเนียม 2,000 บาท
- หนังสือชี้แจงเหตุผลความจำเป็นการจ้างคนต่างด้าวเข้าทำงานและขอความร่วมมือในการขอรับหรือขอเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา (ระบุชื่อบริษัท, ชื่อผู้ยื่นคำขอ, ตำแหน่ง, ความรู้ความสามารถและเหตุผลในการขอรับหรือขอเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตราเป็น NON-B)
- หนังสือรับรองการจ้างงานตามแบบฟอร์มของกรมการจัดหางาน
- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (ต้องได้รับการรับรองจากนายทะเบียนภายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน)
- สำเนาใบสำคัญการจดทะเบียนนิติบุคคล (แบบ พ.ค.0401)
- สำเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.20), คำขอแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.09), คำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.01), หนังสือบริคณห์สนธิการเพิ่มทุน และบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) (ต้องได้รับการรับรองจากนายทะเบียนภายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน)
- สำเนางบการเงินล่าสุด (ต้องได้รับการตรวจสอบและรับรองจากกระทรวงพาณิชย์หรือกรมสรรพากร)
- สำเนารายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) ซึ่งต้องได้รับการตรวจสอบและรับรองจากกระทรวงพาณิชย์หรือกรมสรรพากร พร้อมแนบใบเสร็จ
- สำเนาหลักฐานการศึกษาและประสบการณ์การทำงานของคนต่างด้าว (ต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษและได้รับการรับรองจากสถานทูตของบุคคลต่างด้าวในประเทศไทยหรือต่างประเทศ รวมถึงกองนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศในประเทศไทย) สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่หมายเลข 0-2575-1058-60 หรือ Call Center 0-2572-8442
- แบบหนังสือรับรองวุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน (แบบ สตม.4) โดยต้องแนบสำเนาบัตรประชาชนพร้อมลายเซ็นของพยาน
- สำเนารายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายสำหรับพนักงานคนไทย (ภ.ง.ด.1) ย้อนหลัง 3 เดือน พร้อมแนบรายชื่อพนักงานคนไทยตั้งแต่ลำดับที่ 1 ถึงลำดับสุดท้าย ซึ่งต้องได้รับการรับรองจากกรมสรรพากรพร้อมใบเสร็จ
- หนังสือขอความร่วมมือจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน, การนิคมอุตสาหกรรม หรือการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ในกรณีที่ได้รับการส่งเสริมจาก BOI)
- กรุณาแสดงภาพถ่ายสีของบริษัทที่ชัดเจน ซึ่งรวมถึงอาคาร, ป้ายชื่อบริษัท, สภาพการทำงานที่มีพนักงานกำลังทำงาน, โต๊ะทำงานภายในบริษัท, หรืออาคาร/โกดังที่แสดงถึงลักษณะงาน โดยต้องมีประมาณ 6-7 ภาพ สำหรับบุคคลต่างชาติจะต้องถ่ายภาพร่วมกับกรรมการและแนบสำเนาบัตรประชาชนของกรรมการพร้อมลายเซ็น (หากกรรมการเป็นชาวต่างชาติให้แนบสำเนาหนังสือเดินทางและใบอนุญาตทำงานด้วย)
- หากใน ภ.ง.ด.50 (หน้า 5 บรรทัดที่ 3) ไม่มีการระบุค่าน้ำและค่าไฟ กรุณาแสดงสัญญาเช่าและบิลค่าน้ำ, ค่าไฟ, และค่าโทรศัพท์ย้อนหลัง 3 เดือน
- แผนที่ตั้งของบริษัท
- เอกสารรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรุณาแนบใบเสร็จค่าธรรมเนียมการรับรองและ/หรือการคัดสำเนาเพิ่มเติมด้วย
กฎระเบียบและข้อมูลที่สำคัญในการขอทำหนังสือเดินทาง
- ชาวต่างชาติที่ประสงค์จะเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตราในหนังสือเดินทางเป็นประเภท Non-B จะต้องยื่นคำขอก่อนที่หนังสือเดินทางจะหมดอายุอย่างน้อย 15 วัน หากหนังสือเดินทางหมดอายุแล้ว จะไม่สามารถยื่นคำขอเปลี่ยนแปลงเป็นหนังสือเดินทางประเภท Non-B ได้
- ผู้ยื่นคำขอต้องมาดำเนินการด้วยตนเองในทุกกรณี
- ผู้ยื่นคำขอต้องแจ้งที่อยู่ที่พักอาศัยตามมาตรา 38 และแสดงหลักฐานการแจ้งที่พักอาศัย
- ผู้ยื่นคำขอต้องลงนามรับรองเอกสารทุกแผ่นและทุกหน้า
- สำเนาเอกสารของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่มีกรรมการผู้มีอำนาจตามหนังสือรับรองการจดทะเบียน หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ ต้องลงนามรับรองและประทับตราบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนในทุกแผ่นและทุกหน้า
- เอกสารทั้งหมดที่นำมายื่นเพื่อขอเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตราต้องเป็นเอกสารฉบับจริงเท่านั้น และควรจัดเตรียมเอกสารให้ครบถ้วนเพื่อความรวดเร็วในการตรวจสอบ
Website : www.blue-assistance.co.th
Website Profile : บริษัท บลู แอสซิสแท็นซ จำกัด
Facebook : Blue Assistance Co.,Ltd