แบรนด์ (Brand) คือ แนวคิดหรืออุดมคติที่แสดงถึงองค์กร ผลิตภัณฑ์ และบริการขององค์กร
(Branding) คือ การสื่อสารเอกลักษณ์ของแบรนด์ เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ จนเกิดเป็นภาพจำให้กับผู้บริโภค
การสร้างแบรนด์ (Branding) มีประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างไร
- เพิ่มความน่าเชื่อถือ
- สร้างฐานลูกค้าประจำ
- กระตุ้นการบอกต่อแบบ “ปากต่อปาก”
- ปูทางเพื่อดำเนินธุรกิจในระยะยาว
ขั้นตอนการสร้างแบรนด์ ให้เป็นที่จดจำสำหรับผู้บริโภค
1. ศึกษาคู่แข่งของแบรนด์
รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง” – คำกล่าวนี้ยังคงใช้ได้เสมอและเป็นอนันต์ การทำธุรกิจก็เช่นกัน ก่อนวางแผนเรื่องทิศทางการนำเสนอแบรนด์ อย่าลืมศึกษาทิศทางของคู่แข่งที่ขายสินค้าและบริการประเภทเดียวกันก่อน
2. เก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย
ลองสำรวจดูว่ากลุ่มเป้าหมายของคุณคือใคร โดยอาจวิเคราะห์จากกลุ่มลูกค้าของธุรกิจที่ขายสินค้าและบริการประเภทเดียวกัน
3. ออกแบบบุคลิกภาพของแบรนด์ (Brand Personality)
เคล็ดลับคือ ให้เปรียบแบรนด์ของคุณเป็นคนหนึ่งคน หากสร้างคนขึ้นมาใหม่ได้หนึ่งคน คุณอยากให้เขามีบุคลิกภาพแบบไหน สุภาพเรียบร้อย อ่อนโยน หรือผาดโผนชอบการผจญภัย และที่สำคัญ คุณอยากให้คนกลุ่มไหนรู้สึกชอบเขา
4. สร้างอัตลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Identity)
คือการทำภาพนั้นให้ประจักษ์ชัด ด้วยการนำเสนอ “อัตลักษณ์ของแบรนด์” ผ่านการออกแบบโลโก้ สี และรูปแบบตัวอักษร เพื่อให้คนจดจำแบรนด์ของคุณ และเรียนรู้ว่าคุณแตกต่างจากคนอื่นอย่างไร นอกจากนี้ อัตลักษณ์ของแบรนด์ยังสามารถถ่ายทอดผ่านสิ่งอื่น ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น น้ำเสียงของบอทหรือแอดมินเวลาโต้ตอบกับลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์ คอนเทนต์ที่นำเสนอบนช่องทางต่าง ๆ หรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ เป็นต้น
5. การสื่อสารกับผู้บริโภคโดยใช้ Brand Marketing
คือการเริ่มสื่อสารกับผู้บริโภค โดยวิเคราะห์จากเพศ วัย และพฤติกรรมการใช้งานของกลุ่มเป้าหมาย ก่อนตัดสินใจว่าจะสื่อสารกับพวกเขาผ่านทางช่องทางไหนได้บ้าง ตัวอย่างเช่น หากกลุ่มเป้าหมายของคุณคือคนอายุ 15 – 30 ปี คุณอาจเลือกทำคอนเทนต์ในหัวข้อที่พวกเขาสนใจ ลงบนสื่อ Social Media หรือเว็บไซต์
6. ยืนหยัดในจุดยืนของแบรนด์ (Brand Positioning)
คือ การยืนหยัดในจุดยืนของแบรนด์ เพราะเมื่อลงสู่สนามการตลาดไปสักพัก คุณจะพบกระแสนิยมมากมาย ที่ชักนำให้แต่ละแบรนด์หันเหไปนำเสนอในสิ่งเดียวกัน ดังเช่น การทำคอนเทนต์แบบ Realtime Marketing ที่ได้รับความนิยมมากใน Social Media ซึ่งในบางช่วงเวลา คุณเองก็อาจใช้ประโยชน์จากคอนเทนต์ประเภทนี้ได้ แต่ต้องไม่ลืมเรื่องจุดยืนของแบรนด์
7. ตรวจสอบและวัดผลคุณภาพตลอดเวลา (สรุป)
คือ การหมั่นติดตามวัดผลตลอดเวลา เพื่อหาทางปรับปรุงและพัฒนาแนวทางให้สอดรับกับสถานการณ์อยู่เสมอ คุณอาจใช้เครื่องมือวัดผลต่าง ๆ เช่น Meta Business Suite, Google Analytics หรือจัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นจากผู้บริโภคโดยตรง ไม่ว่าจะตรวจสอบด้วยวิธีใด ขอเพียงมุ่งเน้นความสม่ำเสมอ และการพร้อมปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์เป็นสำคัญ
ที่มา: www.cotactic.com