ค้นหา
ใช้ประโยชน์จากขยะในโรงงานอุตสาหกรรม “เศษเหล็กและเศษพลาสติก” จัดการอย่างไรได้บ้าง

ใช้ประโยชน์จากขยะในโรงงานอุตสาหกรรม “เศษเหล็กและเศษพลาสติก” จัดการอย่างไรได้บ้าง

ในปัจจุบัน​เศษเหล็กและเศษพลาสติกมากมายจากโรงงานอุตสาหกรรมมีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกวันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจดูเหมือนไม่มีค่าแต่หากนำมาใช้ใหม่อย่างสร้างสรรค์ก็สามารถช่วยลดปริมาณขยะ ลดการเกิดมลพิษ และส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมได้ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่จะช่วยส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน 
เศษเหล็ก

เศษเหล็ก

เศษเหล็กถือเป็นวัสดุที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้มากที่สุดชนิดหนึ่ง เนื่องจากแหล่งที่มาหลักของเศษเหล็กมักเกิดจากกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งชิ้นส่วนเหล่านี้อาจชำรุด เสื่อมสภาพ หรือหมดอายุการใช้งานไปแล้ว โดยแหล่งเศษเหล็กที่พบมากที่สุด ได้แก่ เศษเหล็กจากโรงงานอุตสาหกรรม โรงหลอม รวมไปถึงสินค้าต่าง ๆ ที่หมดอายุ เช่น โครงเก้าอี้หรือโครงประตูจากบ้านเรือน มาดูกันว่าเศษเหล็กเหล่านี้นำไปต่อยอดอย่างไรได้บ้าง

1. ขายเพื่อสร้างรายได้
เศษเหล็กจากอุปกรณ์ที่ไม่ใช้แล้ว เช่น โครงเก้าอี้หรือประตู สามารถขายให้กับร้านรับซื้อของเก่า หรือโรงงานรีไซเคิลที่รับซื้อเศษเหล็ก เพื่อนำไปแปรรูปหรือหลอมใหม่ โดยสามารถ​ติดต่อให้ ทางผู้ให้บริการรับซื้อเศษเหล็ก เข้ามาซื้อและรับสินค้าได้ตามสถานที่ที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญอย่าง TONRECYCLE ให้บริการรับซื้อเศษวัสดุทุกประเภท 

2. สร้างสรรค์งาน DIY
เศษเหล็กสามารถนำมาประดิษฐ์เป็นของตกแต่งบ้านหรือเฟอร์นิเจอร์ เช่น นำมาตัด เชื่อม หรืองอ ให้เป็น ขาโต๊ะ โคมไฟ ชั้นวางของ หรือดัดแปลงเป็น เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆ เช่น ที่แขวนของ ที่เปิดขวด ขาตั้งจักรยาน โดยการทำแบบนี้ไม่เพียงแต่เป็นการช่วยลดปริมาณขยะโลหะ แต่ยังเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า สร้างคุณค่าใหม่ และกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในภาคการศึกษา งานฝีมือ หรือธุรกิจขนาดย่อมที่เน้นงานแบบแฮนด์เมด

3. หลอมใหม่เพื่อผลิตเหล็กชนิดอื่น
เศษเหล็กสามารถนำไปหลอมเพื่อผลิตเป็นเหล็กแบน เหล็กฉาก หรือเหล็กกล่อง โดยกระบวนการนี้เป็นการช่วยลดของเสียจากอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างมาก อีกทั้งยังเป็นการ เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่าและลดการใช้ใหม่ นอกจากนี้ยังสามารถผลิตเหล็กชนิดใหม่ให้เหมาะกับการใช้งานเฉพาะด้านได้อย่างหลากหลาย ซึ่งจะนำเข้าสู่กระบวนการหลอมด้วยความร้อนสูงในเตาหลอม เพื่อทำให้เหล็กกลับเป็นของเหลวอีกครั้ง จากนั้นสามารถปรับส่วนผสมทางเคมี เช่น ปริมาณคาร์บอน แมงกานีส ซิลิกอน หรือธาตุอื่น ๆ เพื่อให้ได้เหล็กที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันตามความต้องการ
เศษพลาสติก

เศษพลาสติก

เศษพลาสติกถือเป็นหนึ่งในขยะที่ก่อให้เกิดมลพิษอย่างมหาศาลในระดับโลก สาเหตุหลักมาจากวิถีชีวิตประจำวันของเราที่พึ่งพาพลาสติกในเกือบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นขวดน้ำ ถุงดำ ถุงใส่ของ ถุงข้าว หรือห่อขนมต่างๆ เมื่อใช้งานเสร็จ สิ่งเหล่านี้มักถูกทิ้งกลายเป็นขยะโดยไม่ผ่านการจัดการที่เหมาะสม

ปัญหาสำคัญคือ พลาสติกใช้เวลานานมากในการย่อยสลายตามธรรมชาติ จึงทำให้สะสมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หนทางที่ดีที่สุดในการจัดการกับพลาสติกเหล่านี้คือ การส่งต่อไปยังผู้รับซื้อหรือโรงงานรีไซเคิล เพื่อเข้าสู่กระบวนการแปรรูปและใช้งานใหม่อีกครั้ง ช่วยลดปริมาณขยะและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ต่อไปเรามาทำความรู้จักกับประเภทของพลาสติกกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง และแต่ละชนิดสามารถรีไซเคิลได้หรือไม่


ประเภทของพลาสติกที่ควรรู้

1. PET หรือ PETE (Polyethylene Terephthalate)
เป็นพลาสติกที่สามารถนำมารีไซเคิลได้ มีลักษณะ ใส เบา ทนต่อแรงดัน เช่น ขวดน้ำดื่ม, ขวดน้ำอัดลม มักถูกนำไปแปรรูปเป็นเส้นใยผ้า กระเป๋า หรือภาชนะใหม่
2. HDPE (High-Density Polyethylene)
เป็นพลาสติกที่สามารถนำมารีไซเคิลได้ มีลักษณะแข็งแรงและหนาแน่นสูง เช่น ขวดแชมพู, ขวดน้ำยาซักผ้า, ถังน้ำ เป็นต้น โดยนิยมนำไปผลิตถังขยะ ท่อ หรือแผ่นพลาสติก
3. PVC (Polyvinyl Chloride)
เป็นพลาสติกที่สามารถนำมารีไซเคิลได้บางส่วนเท่านั้น เพราะมีสารเติมแต่ง ต้องใช้กระบวนการเฉพาะทำให้นำมารีไซเคิลยาก ตัวอย่างเช่น ท่อน้ำ, แผ่นพลาสติกใส, ฉนวนสายไฟ 
4. LDPE (Low-Density Polyethylene)
เป็นพลาสติกที่สามารถนำมารีไซเคิลได้แต่ไม่แพร่หลายมากนัก เช่น ถุงพลาสติกหูหิ้ว, ฟิล์มห่ออาหาร ซึ่งมีความบางและยืดหยุ่นสูง โดยมักนำไปทำถุงขยะหรือแผ่นรองพื้น
5. PP (Polypropylene)
เป็นพลาสติกที่สามารถนำมารีไซเคิลได้ เช่น ฝาขวด, กล่องอาหาร, หลอดดูด โดยสามารถทนร้อนได้และไม่เปราะง่าย นิยมนำไปใช้ในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์
6. PS (Polystyrene)
เป็นพลาสติกที่สามารถนำมารีไซเคิลได้แต่ไม่ค่อยคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ตัวอย่างเช่น กล่องโฟม, แก้วน้ำโฟม, ช้อนพลาสติก มักพบในขยะทั่วไป เพราะคนไม่ค่อยแยกทิ้ง
7. พลาสติกอื่นๆ ที่ไม่อยู่ในกลุ่มข้างต้น
ลักษณะเป็นพลาสติกผสม หรือพวกที่มีสูตรเฉพาะ ตัวอย่างเช่น แผ่นซีดี, ขวดนมเด็ก, กล่องอาหารไมโครเวฟ โดยไม่สามารถนำมารีไซเคิลหรือได้เฉพาะบางแบบเท่านั้น
กระบวนการรีไซเคิลพลาสติก

กระบวนการรีไซเคิลพลาสติก

1. Primary Recycling  
การนำเศษพลาสติก (Post-Industrial Scrap) ที่เป็นวัสดุประเภทเดียวกันและปราศจากสิ่งปนเปื้อนจากกระบวนการผลิตหรือการขึ้นรูป กลับมาใช้ซ้ำภายในโรงงาน สามารถนำกลับมาใช้ได้ทั้งหมด หรือผสมกับเม็ดพลาสติกใหม่ในสัดส่วนที่เหมาะสมตามความต้องการ

2. Secondary Recycling
เป็นกระบวนการรีไซเคิลทางกายภาพ (Physical Processing) โดยการนำพลาสติกที่ผ่านการใช้งานแล้วมาทำความสะอาดและบดให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ จากนั้นหลอมและขึ้นรูปใหม่ให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกอีกครั้ง

3. Tertiary Recycling
เป็นกระบวนการรีไซเคิลที่เปลี่ยนโครงสร้างของพลาสติกกลับไปเป็นวัตถุดิบตั้งต้น โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่:

       1. Chemical Recycling (การรีไซเคิลทางเคมี)
เป็นกระบวนการที่ทำให้สายโซ่พอลิเมอร์แตกออก (Depolymerisation) กลายเป็นมอนอเมอร์ (Monomer) หรือโอลิโกเมอร์ (Oligomer) จากนั้นนำมากลั่นและตกผลึกให้บริสุทธิ์ เพื่อใช้เป็นสารตั้งต้นคุณภาพสูง ซึ่งสามารถนำไปผลิตเป็น PET ใหม่ได้

       2. Thermolysis (การรีไซเคิลทางความร้อน)
เป็นการทำให้โครงสร้างของ PET แตกหรือขาดด้วยความร้อน แบ่งออกเป็น 3 วิธี ได้แก่

  • Pyrolysis: ให้ความร้อนในสภาวะไร้ออกซิเจน
  • Gasification: ให้ความร้อนในสภาวะที่มีออกซิเจนจำกัด
  • Hydrogenation: เติมไฮโดรเจนระหว่างให้ความร้อน เพื่อเร่งการแตกตัวของโมเลกุล
4. Quaternary Recycling
เป็นการนำพลาสติกไปใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนโดยผ่านกระบวนการเผาไหม้ ซึ่งพลาสติกสามารถให้ค่าความร้อนสูงประมาณ 23 เมกะจูลต่อกิโลกรัม (MJ/kg) ใกล้เคียงกับถ่านหิน ความร้อนที่ได้ช่วยส่งเสริมการเผาไหม้ของขยะเปียกที่ติดไฟได้ยาก และยังช่วยลดปริมาณเชื้อเพลิงหลักที่ต้องใช้ในการกำจัดขยะอีกด้วย
ต้นรีไซเคิล
จากที่กล่าวมา การรีไซเคิลเศษเหล็กและพลาสติกถือเป็นวิธีที่ช่วยลดปริมาณขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเศษเหล็กก็นำไปหลอมใหม่เพื่อผลิตชิ้นงานที่นำกลับมาใช้ได้อีกครั้ง ส่วนพลาสติกที่ใช้งานแล้วสามารถนำมาทำเป็นเม็ดพลาสติกใหม่แล้วนำไปขึ้นรูปเป็นของใช้ต่าง ๆ และพลาสติกยังสามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง ซึ่งจะช่วยลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล และยังจัดการกับขยะได้ดี ปัจจุบันมีการพัฒนาพลาสติกชีวภาพที่ย่อยสลายได้เร็วขึ้น และผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ เพื่อช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ เศษวัสดุเหล่านี้ยังสามารถนำไปขายให้กับผู้รับซื้ออย่าง TONRECYCLE เพื่อเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกวิธีอีกด้วย

หากคุณสนใจบริการรับซื้อเศษวัสดุจาก ต้นรีไซเคิล ติดต่อเราวันนี้เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมและขอใบเสนอราคาฟรี!

ติดต่อ ต้นรีไซเคิล
โทรศัพท์: 062-714-3863 (ต้น)
Website Profile:   Tonrecycle

ขอใบเสนอราคา

แบบฟอร์มสำหรับ ต้นรีไซเคิล เท่านั้น !

แชร์บทความ หรือข่าวสาร

Facebook
Line
Mail