เนื่องจากอาคารโกดังคลังสินค้า และ โรงงานมีความสำคัญต่อธุรกิจเกือบทุกประเภท เพราะฉะนั้นการรักษาความปลอดภัยโดยเฉพาะการป้องกันไฟไหม้โรงงาน โกดัง คลังสินค้า ซึ่งเป็นแหล่งรายได้ที่ใหญ่ที่สุดของธุรกิจ จึงเปรียบเหมือนเกราะป้องกันที่สามารถชี้เป็นชี้ตายได้ หากคลังสินค้าเกิดภัยพิบัติร้ายแรงอย่างเช่น ไฟไหม้โกดัง หรือ คลังสิ้นค้า หายนะอาจะเกิดขึ้นกับธุรกิจของเราซึ่งอาจจะรุนแรงถึงขั้นทำให้ธุรกิจทั้งหมดต้องหยุดชะงัก ไม่ว่าจะเป็นโรงงาน โกดัง หรือ คลังสินค้า ก็สามารถป้องกันไฟไหม้ได้ด้วย 10 วิธี ที่เรานำมาเสนอในวันนี้ครับ
1. เริ่มวางแผนขั้นตอนการป้องกันอัคคีภัย
ใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้จากแผนประเมินความเสี่ยง นำมากำหนดขั้นตอนการป้องกันอัคคีภัยที่เหมาะกับความเสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้ จากนั้นอบรบขั้นตอนดังกล่าวให้แก่พนักงานทุกคนเพื่อให้การรับมือกับเหตุเพลิงไหม้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน สร้างแผนการตรวจสอบตนเองให้แก่พนักงานเพื่อรักษามาตรฐานการดูแลสถานที่ และ การป้องกันอัคคีภัย
2. จัดเตรียมเครื่องมือในการป้องกันอัคคีภัย
จัดซื้อจัดหาเครื่องมือที่ช่วยป้องกันไฟไหม้คลังสินค้า ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดับเพลิง หัวกระจายน้ำ และ ระบบตรวจจับอัคคีภัยอัตโนมัติ โดยจำนวน และ ประเภทของเครื่องดับเพลิงที่ต้องการขึ้นอยู่กับลักษณะของธุรกิจ
3. การจัดระเบียบสถานที่
การไม่จัดระเบียบพื้นที่ หรือ ไม่จัดเก็บสิ่งของต่างๆ ให้เป็นสัดส่วน และ เหมาะสมนั้นเป็นปัจจัยก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดไฟไหม้ในหลายๆด้าน ทางเดินที่แน่นขนัดอาจจะปิดกั้นทางเข้าออก ทำให้คนหนีได้ไปยากขึ้น คลังสินค้าที่แออัดทำให้เชื้อเพลิงขยายวงกว้างได้ง่าย หรือ การเก็บวัตถุอันตราย
4. หมั่นตรวจสอบระบบไฟฟ้า
ระบบไฟฟ้าที่บกพร่องคือภัยเงียบที่คุณอาจจะคาดไม่ถึง ดังนั้นแล้วอย่าลืมตรวจสอบว่าระบบไฟฟ้าของคลังสินค้าโกดัง และ โรงงานของคุณติดตั้ง และ ได้รับการบำรุงรักษาตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้องอยู่เสมอ รวมถึงทำสัญญาว่าจ้างผู้รับเหมาติดตั้งบำรุงระบบไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติถูกต้องให้มาตรวจสอบ และ ทดสอบระบบไฟฟ้าของคุณเป็นประจำ หากตรวจพบข้อบกพร่องใดๆ จะได้ทำการแก้ไขทันที เพราะไม่อย่างนั้นระบบไฟฟ้าที่เราปล่อยให้เสียหายอาจจะเป็น ตัวการก่อไฟไหม้ขึ้นมาได้ครับ
5. การรักษาความปลอดภัยทั้งใน และ นอกสถานที่
การลอบวางเพลิงเป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลักของเพลิงไหม้คลังสินค้า ดังนั้นอย่าลืมปกป้องธุรกิจของคุณจากความเสี่ยงข้อนี้ โดยการติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยทั้งภายนอก และ ภายในสถานที่ เช่นพนักงานรักษาความปลอดภัย กล้องรักษาความปลอดภัย และ สัญญาณเตือนภัย เพื่อขัดขวางผู้บุกรุก และ พิทักษ์คลังสินค้าของคุณ
6. มาตรการเรื่องการสูบบุหรี่
เครื่องจักร และ ระบบทำความร้อนของโรงงานขัดข้องเป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดไฟฟ้าโรงงาน เป็นภัยเงียบอย่างที่คุณอาจจะคาดไม่ถึง ดังนั้นแล้วอย่าลืมตรวจสอบว่าระบบเครื่องจักร และ ระบบทำความร้อนของคลังสินค้าโกดัง และ โรงงานของคุณติดตั้ง และ ได้รับการบำรุงตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้องอยู่เสมอ รวมถึงทำสัญญาว่าจ้างผู้รับเหมาติดตั้งบำรุงเครื่องจักร และ ทำความร้อนที่มีคุณสมบัติถูกต้องให้มาตรวจสอบ และ ทดสอบระบบเครื่องจักร และ ระบบทำความร้อนของคุณเป็นประจำ หากตรวจพบข้อบกพร่องใดๆ ก็ได้ทำการแก้ไขทันที เพราะไม่อย่างนั้นเครื่องจักร และ ระบบทำความร้อนที่เราปล่อยให้เสียหายอาจจะเป็นตัวการก่อไฟไหม้ขึ้นมาครับ
7.หมั่นกำจัดขยะ
การสะสมขยะในโรงงานโกดังคลังสินค้ามีความเสี่ยงยิ่งต่อการเกิดอัคคีภัย ดังนั้นพนักงานจะต้องกำจัดขยะทั้งหมดเมื่อสิ้นสุดการทำงานในแต่ละวัน และ นำไปทิ้งที่ถังภายนอก ซึ่งจะต้องตั้งอยู่ห่างจากตัวอาคารไม่น้อยกว่า 10 เมตร และ ห่างจากเขตรั้วของสถานที่ประกอบการของคุณอย่างน้อย 2 เมตร
8.การตรวจสอบเมื่อสิ้นวัน
เมื่อสิ้นสุดการทำงานในแต่ละวัน พนักงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ และ ผ่านการอบรบจะต้องตรวจสอบทุกพื้นที่ของอาคารโรงงาน และ คลังสินค้า และ บันทึกผลตรวจสอบอย่างละเอียดตามรายการที่กำหนดไว้ โดยต้องทำการตรวจสอบว่ามีการกำจัดวัสดุที่เป็นเศษซากแล้ว หรือ ไม่ ระบบป้องกันไฟไหม้ และ ระบบรักษาความปลอดภัยต่างๆ ทำงานเป็นปกติ หรือ เปล่า รวมถึงมีการแยกเก็บวัตถุ หรือ อุปกรณ์อันตรายที่กำหนด หรือ ไม่
9.ทำประกันอัคคีภัยในวงเงินที่เหมาะสมไว้ดีที่สุด
นอกจากเตรียมการเพื่อป้องกันไฟไหม้สินค้า โกดัง หรือ โรงงานตามวิธีที่เราแนะนำไปแล้ว การปกป้อง และ คุ้มครอง ความเสี่ยง ด้วยการทำประกันอัคคีภัยก็เป็นตัวเลือกเพื่อช่วยเพิ่มความอุ่นให้กับธุรกิจของเราได้ ดังนั้นแล้วทุกอาคาร โรงงาน โกดัง และ คลังสินค้า ควรจัดการให้มีการทำประกันภัยไว้เผื่อเหตุการณ์ไม่คาดคิดครับ หากสนใจเช่าโรงงาน โกดังสินค้า และ คลังสินค้าที่ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัยไว้อย่างครบครัน และ ปลอดภัย ทาง At-once เราได้รวบรวมข้อมูลรายชื่อบริษัทที่ให้บริการ คลังสินค้าให้เช่า โกดังให้เช่า และ โรงงานให้เช่า ไว้เป็นจำนวนมาก คุณสามารถเข้าไปติดต่อสอบถามข้อมูลการให้บริการต่างๆกับบริษัทเหล่านั้นได้โดยตรงค
ที่มา:proindsolutions