รู้หรือไม่ว่า ป้ายโฆษณาต่างๆ หรือป้ายที่ใช้ในเชิงธุรกิจนั้น เราจะต้องเสียภาษีป้ายด้วยนะ โดยภาษีป้ายเก็บจาก ป้ายที่แสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายการค้า หรือประกอบกิจการอื่นๆ หรือโฆษณาเพื่อการค้า เพื่อหารายได้ ซึ่งหลายๆ คนอาจจะยังไม่ทราบว่าต้องเสียภาษีหรือดำเนินการอย่างไร เราไปดูขั้นต้อนการชำระภาษีป้ายพร้อมๆ กันเลย
1. การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี
การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี (ภ.ป.1) เป็นการรายงานรายละเอียดเกี่ยวกับป้ายโฆษณาของเรา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแจ้งให้เจ้าหน้าที่ภาษีทราบถึงจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระต่อปี ในกรณีที่เรามีการติดตั้งป้ายใหม่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงข้อความในแต่ละปี เราจะต้องยื่นแบบ (ภ.ป.1) ใหม่ในวันที่ 15 วัน นับจากวันที่ติดตั้งป้ายหรือเปลี่ยนแปลงข้อความของป้ายใหม่
การไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีหรือการยื่นแบบไม่ตรงกับความเป็นจริง เราจะถูกปรับเพิ่มเติมและเสียค่าปรับอื่นๆ ดังนั้น เราอย่าลืมให้ความสำคัญกับการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีด้วยนะ เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการชำระภาษี ลดความเสี่ยงในการถูกปรับเงินภาษี และค่าปรับอื่นๆ ในภายหลัง
2. การชำระเงินค่าภาษี
3. อัตราค่าภาษีป้าย
ป้ายประเภทที่ 1 หมายถึง ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน จะต้องคิดอัตราค่าภาษีที่ 3 บาทต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
ป้ายประเภทที่ 2 หมายถึง ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ หรือมีภาพและเครื่องหมายอื่น จะคิดอัตรา 20 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
ป้ายประเภทที่ 3 หมายถึง ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย ไม่ว่ามีภาพหรือเครื่องหมายใด ๆ หรือไม่ หรือ
ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ข้างล่างหรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ จะคิดอัตรา 40 บาท ต่อ 500
ตารางเซนติเมตร เมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้วถ้ามีอัตราต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท จะต้องเสียค่าภาษีป้ายละ 200
บาท
ป้ายประเภทที่ 4 หมายถึง ป้ายที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขพื้นที่ป้าย ข้อความ ภาพ
หรือเครื่องหมายบางส่วนในป้ายที่ได้เสียภาษีแล้ว เราจะต้องเสียภาษีป้ายเพิ่มขึ้น
ป้ายทุกประเภทเมื่อเราคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้ว ถ้ามีอัตราที่ต้องเสียภาษีต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท
ให้เสียภาษีป้ายละ 200 บาท
4. การไม่ยื่นแบบและชำระภาษีภายในกำหนด
- หากเราไม่ยื่นแบบภายในกำหนดจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 10 ของค่าภาษี
- หากเราไม่ชำระเงินค่าภาษีภายในกำหนด จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 2 ของค่าภาษี
- เราจะต้องแสดงหลักฐานการเสียภาษีป้ายไว้ ณ ที่เปิดเผยในสถานประกอบการค้า หรือสถานประกอบกิจการ
ที่มา: www.prosofterp.com