1. บริการจัดทำบัญชี, บันทึกบัญชี, ปิดงบการเงินและจัดทำงบการเงิน2. บันทึกบัญชีด้วยระบบโปรแกรมบัญชีที่กรมสรรพากรยอมรับ3. จัดทำสมุดบัญชีรายวัน สมุดบัญชีแยกประเภทและรายงานทางบัญชีต่างๆ ครบถ้วนตามที่ กฎหมายและกรมสรรพากรกำหนด4. จัดทำและยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคล ภงด.51 (แบบภาษีครึ่งปี) และภาษีเงินได้นิติบุคคล ภงด.50 (แบบภาษีประจำปี)5. คำนวณและจัดเตรียมแบบภาษีที่ต้องยื่นในแต่ละเดือนพร้อมบริการยื่นแบบนำส่งกรมสรรพากร เช่น ภงด.1, ภงด.3, ภงด.53,ภพ.30,รายงานภาษีซื้อ,รายงานภาษีขาย เป็นต้น6. คำนวณและจัดเตรียมแบบประกันสังคมที่ต้องยื่นในแต่ละเดือนพร้อมบริการยื่นแบบนำส่ง7. เข้าพบและให้คำชี้แจง กรณีกรมสรรพากรต้องการข้อมูลเพิ่มเติมทางบัญชี8. ให้คำแนะนำปรึกษาด้านบัญชี ภาษีอากรและการจัดเก็บระบบเอกสารบัญชีที่จำเป็นในการบันทึกบัญชี
1. ให้บริการตรวจสอบบัญชี โดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของประเทศไทย ซึ่งจะปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป โดยใช้วิธีการตรวจสอบหลักฐานประกอบรายการบัญชีและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน การทดสอบระบบการควบคุมภายใน การประเมินความเหมาะสมของหลักการบัญชีที่กิจการใช้และประมาณการเกี่ยวกับรายการทางการเงินที่เป็นสาระสำคัญ2. เสนอข้อสังเกตต่อผู้บริหาร ในกรณีที่การตรวจสอบชี้ให้เห็นถึงข้อผิดพลาด หรือการทุจริตที่อาจเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้บริษัทฯ จะเสนอข้อสังเกตต่อผู้บริหาร เพื่อให้ทราบถึงข้อบกพร่องในการควบคุมภายในทางบัญชีที่สำคัญ ที่พบในระหว่างการปฏิบัติงานตรวจสอบบัญชี3. แสดงความเห็นในรายงานการสอบบัญชีต่องบการเงินว่ามีฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของกิจการ ถูกต้องตามที่ควรหรือไม่เพียงใด ความเห็นของผู้สอบบัญชีจึงขึ้นอยู่กับผลการตรวจสอบ หากต้องเสนอรายงานเป็นอย่างอื่น บริษัทฯ จะเรียนชี้แจงถึงเหตุผลข้อเท็จจริงก่อนเสนอรายงานการสอบบัญชี
-รายได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี-รายได้ที่เสียในอัตราที่น้อยกว่าปกติ-การกระจายการรับรู้รายได้ตามระยะเวลาที่เหมาะสม
-การหักรายจ่ายครบถ้วนตามจริง (เอกสารต้องถูกต้องครบถ้วน)-รายจ่ายที่สามารถหักได้มากกว่าที่จ่ายจริง-เงินบริจาคที่สามารถหักได้ตามจริง และหักได้มากกว่าที่จ่ายจริง-การลด และงดรายจ่ายที่ไม่สามารถนำมาคำนวณภาษีได้
-การให้คำปรึกษาในการปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีที่ถูกต้อง-การให้คำปรึกษาในการปฏิบัติตามประมวลรัษฎากรที่ถูกต้อง และประหยัดภาษีที่สุด-การให้คำปรึกษาในการปฏิบัติสำหรับรายการที่ต้องปฏิบัติต่างกันระหว่างบัญชี กับภาษีอากร-การให้บริการเข้าชี้แจง และตอบข้อซักถามของเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร
1. จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท, ห้างหุ้นส่วนจำกัด, คณะบุคคล, ห้างร้านต่างๆ2. จดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงต่างๆ เช่น แก้ไขเปลี่ยนแปลงกรรมการ, ย้ายที่ตั้งสำนักงาน, เพิ่มทุนลดทุน3. จดทะเบียนเลิก และชำระบัญชี4. ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของคณะบุคคล, นิติบุคคล5. จดทะเบียนเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม, ภาษีธุรกิจเฉพาะ6. ขึ้นทะเบียนประกันสังคมนายจ้าง, ลูกจ้าง, แจ้งการเปลี่ยนแปลงต่างๆ